เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค กค 0706/4808
วันที่:2 มิถุนายน 2549
เรื่อง:ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีราคาตลาดตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อกฎหมาย:มาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ:             บริษัท บ. ได้ซื้อที่ดินเปล่า เป็นการลงทุนเพื่อขายต่อในราคาที่มีกำไร ต่อมา ในปี 2547 บริษัท อ.ได้ขอซื้อที่ดินดังกล่าว ในราคา 27,900,000 บาท ซึ่งบริษัทฯ ได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมการขายต่อสำนักงานที่ดินเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2547 โดยในวันจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ราคาประเมินของกรมที่ดินเท่ากับ 31,628,600 บาท ก่อนวันจดทะเบียนการขายที่ดินดังกล่าว บริษัท อ. ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท อ. ได้ว่าจ้างบริษัท จ. ซึ่งเป็นบริษัทอิสระไม่มีความสัมพันธ์หรือผูกพันใด ๆ กับคู่สัญญาหรือผู้ว่าจ้างเป็นบริษัทรับประเมินราคาทรัพย์สิน และเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีสาขาอยู่หลายประเทศในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ ทำการสำรวจและประเมินราคาตลาด สำหรับที่ดินแปลงดังกล่าว ปรากฏว่า ราคาตลาดตามรายงานบริษัท จ. เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2547 เท่ากับ 24,000,000 บาท ในการคำนวณกำไรสุทธเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทฯ ได้ใช้ราคาขาย 27,900,000 บาท เป็นเกณฑ์ในการคำนวณ เพราะเป็นราคาที่ซื้อขายกันจริงและสูงกว่าราคาตลาด รวมทั้งได้เทียบเคียงกับความหมายของคำว่า "ราคาตลาด" ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ได้ยื่นเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการขายที่ดินแปลงดังกล่าวโดยถูกต้องครบถ้วนแล้ว บริษัทฯ จึงขอทราบว่า ราคาตลาดตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับกรณีนี้ ให้ใช้ราคาซื้อขายกันจริง คือ 27,900,000 บาท หรือราคาประเมินของสำนักงานที่ดิน 31,628,600 บาท
:             กรณีบริษัทฯ ได้ขายที่ดินแปลงดังกล่าว บริษัทฯ ต้องนำรายได้จากการขายมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร โดยนำรายได้ดังกล่าวหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อบริษัทฯ ขายที่ดินในราคาต่ำกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานที่ดิน โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า มีเหตุผลอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินค่าตอบแทนจากการขายที่ดินของบริษัทฯ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จำนวน 31,628,500 บาท ซึ่งเป็นราคาประเมินทุนทรัพย์ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ในวันที่มีการโอนที่ดินนั้นได้ ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร
แนววินิจฉัย:             1. กรณีที่บริษัทฯ ได้ยื่นแบบ ภ.พ.30 เพิ่มเติมครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 สำหรับเดือนภาษีธันวาคม 2540 เดือนภาษีตุลาคม 2541 เดือนภาษีธันวาคม 2542 เดือนภาษีตุลาคม - เดือนภาษีธันวาคม 2543 และเดือนภาษีเมษายน - เดือนภาษีมิถุนายน 2544 เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมาย เป็นกรณีที่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีภายในกำหนดเวลา บริษัทฯ ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ตามมาตรา 89(2) และมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งการที่บริษัทฯ มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับประเด็นความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่เข้าลักษณะเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถจะปฏิบัติตามกำหนดเวลาได้ จึงไม่อาจอนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบ ภ.พ.30 ตามมาตรา 3 อัฏฐ แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ บริษัทฯ ตามที่ร้องขอได้
เลขตู้:69/34264

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020