เมนูปิด

การยื่นคำอุทธรณ์ภาษี

จะต้องยื่นภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน หรือ แบบคำสั่งให้ชำระภาษีอากร

เอกสารประกอบการยื่นคำอุทธรณ์

  1. หนังสือแจ้งการประเมิน หรือแบบคำสั่งให้ชำระภาษีอากร
  2. หนังสือรับรองของกระทรวงพาณิชย์ (กรณีเป็นนิติบุคคล ซึ่งออกให้ไว้ไม่เกิน 30 วัน)
  3. หนังสือมอบอำนาจ(ถ้ามี)ติดอากรแสตมป์ 10 บาท หรือ 30 บาท แล้วแต่กรณี
  4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน กรรมการผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้อุทธรณ์ รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
  5. สำเนาทะเบียนบ้าน
  6. หลักฐานอื่น ๆ เช่น ภ.พ.20 ภาพถ่ายรายงานภาษีซื้อ-ขาย สำหรับเดือนภาษีที่ถูกประเมินใบกำกับภาษีฯลฯ

  • กรณีที่เคยยื่นคำอุทธรณ์มาแล้ว โปรดระบุเลขรับอุทธรณ์ วันที่รับของคำอุทธรณ์เดิมไว้ตรงมุม ด้านขวาของคำอุทธรณ์ด้วย
  • กรณีที่ผู้อุทธรณ์เป็นนิติบุคคล ให้กรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำการในนามนิติบุคคลนั้น ๆ เป็นผู้ลงนามอุทธรณ์ และให้ประทับตรายางของนิติบุคคลนั้น (ถ้ามี)
  • กรณีผู้ที่ถูกประเมินมิได้เป็นผู้ลงชื่อในคำอุทธรณ์ จะต้องปรากฏข้อความโดยชัดแจ้ง ในหนังสือมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจลงชื่อในคำอุทธรณ์ได้และเอกสารทุกฉบับที่แนบในการอุทธรณ์ต้องรับรองสำเนา

ขั้นตอนการพิจารณาคำร้องขอขยายเวลาการยื่นคำอุทธรณ์

การยื่นคำร้องขอทุเลาการเสียภาษีอากร

การอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากร หากผู้อุทธรณ์ยังมิได้ชำระภาษีตามการประเมิน และประสงค์จะขอทุเลาการเสียภาษีอากรไว้ก่อน จะต้องยื่นคำร้องขอทุเลาการเสียภาษีอากร

เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขอทุเลาการชำระภาษี

  1. สำเนาใบรับคำอุทธรณ์หรือคำอุทธรณ์หรือสำเนาคำฟ้อง(กรณีขอทุเลาการเสียภาษีอากรชั้นศาล)
  2. สำเนาหนังสือแจ้งการประเมินหรือคำสั่งให้ชำระภาษีอากรหรือสำเนาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ (ชั้นศาล)
  3. เอกสารอื่น ๆ อาทิ หนังสือมอบอำนาจ หนังสือรับรองของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
  4. หลักประกันการชำระภาษีอากร
    4.1 ให้ธนาคารค้ำประกันหนี้ภาษีอากรพร้อมทั้งเงินเพิ่ม ที่ต้องชำระตามกฏหมายโดยให้ ธนาคารออกหนังสือสัญญาค้ำประกันตามแบบที่กรมสรรพากรกำหนดต้องส่งมอบต้นฉบับ ในหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคาร
    ข้อที่ 1
    บรรทัดที่ 1 วันที่ยื่นคำร้องขอทุเลาฯที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกันจะต้องตรงกับวันที่ ที่ระบุไว้ในคำร้องขอทุเลาฯ
    บรรทัดที่ 2 ให้ระบุให้ชัดเจนว่า ขอทุเลาการชำระภาษีประเภทใด เดือน ปี พ.ศ. อะไร
    4.2 นำโฉนดที่ดินมาค้ำประกันโดยจดทะเบียนจำนองไว้ต่อทางราชการ
    4.3 นำพันธบัตรรัฐบาลในจำนวนคุ้มกับหนี้ภาษีอากรค้าง มาจดทะเบียนจำนำเป็นประกัน
    4.4 นำบัญชีเงินฝากประจำของผู้อุทธรณ์มาเป็นหลักประกัน
    4.5 นำที่ดินของบุคคลมาจดทะเบียนจำนองค้ำประกันบางส่วน
  5. กรณีเป็นโฉนดที่ดินหรือพันธบัตรรัฐบาล ให้แนบสำเนาภาพถ่ายแทน

ขั้นตอนการพิจารณาคำร้องการขอทุเลาการชำระภาษี

การขอคืนหนังสือสัญญาค้ำประกันและหรือไถ่ถอนการจำนอง จำนำ หลักทรัพย์ประกัน

ขั้นตอนการขอคืนหนังสือสัญญาค้ำประกันและหรือไถ่ถอนการจำนอง จำนำ หลักทรัพย์ประกัน

 

ติดต่อยื่นคำร้องได้ที่ สำนักงานสรรพากรภาค 1
ส่วนกฏหมายและเร่งรัดภาษีอากรค้าง ฝ่ายอุทธรณ์ภาษีอากร ชั้น 1 อาคาร 5 กระทรวงการคลัง ซอยอารีย์สัมพันธ์ ถนนพระราม 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 

ปรับปรุงล่าสุด: 13-05-2024