เมนูปิด

เกี่ยวกับ สท.ตาก

สำนักงานสรรพากรพื้นที่ตาก
มีอำนาจหน้าที่ภายในเขตท้องที่ที่รับผิดชอบ ดังนี้

  1. วางแผนปฏิบัติการและประเมินผล เพื่อการบริหารงานจัดเก็บภาษีอากรให้เป็นไปตามนโยบาย แผนงาน และเป้าหมายของกรม และสำนักงานสรรพากรภาค
  2. กำกับดูแลผู้เสียภาษีเป็นรายผู้ประกอบการ ตรวจปฏิบัติการ และตรวจสอบภาษีอากรสำหรับรายที่อยู่ในความรับผิดชอบ
  3. ดำเนินการเกี่ยวกับการเร่งรัดภาษีอากรค้าง และดำเนินคดีแก่ผู้เสียภาษี รวมทั้งตอบข้อหารือทางภาษีอากร
  4. กำกับ ติดตาม และควบคุมการปฏิบัติงานของสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
  5. พิจารณาคืนเงินภาษีอากร
  6. ปฏิบัติงานด้านกรรมวิธีภาษี
  7. ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสาร ความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีอากร
  8. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

 

สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา 
มีอำนาจหน้าที่ภายในเขตท้องที่ที่รับผิดชอบ ดังนี้

  1. รับชำระภาษีอากร คืนเงินภาษีอากร และปฏิบัติงานด้านกรรมวิธีอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
  2. สำรวจแหล่งภาษีอากร เพื่อขยายฐานภาษีอากร
  3. ดำเนินการเกี่ยวกับการเร่งรัดภาษีอากรค้าง
  4. ปฏิบัติงานด้านการเงินและการบัญชีสรรพากร
  5. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย


ส่วนบริหารงานทั่วไป 
หน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้

  1. ดำเนินงานธุรการและสารบรรณทั่วไป
  2. บริหารงานบุคคล
  3. งานการเงินงบประมาณและพัสดุครุภัณฑ์ของ - สำนักงานสรรพากรพื้นที่ - สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
  4. ให้บริการจดเลิก โอน ย้าย เปลี่ยนแปลง เกี่ยวกับทะเบียนภาษีอากร
  5. ดำเนินการประชาสัมพันธ์และอำนวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษี
  6. ให้บริการคัด ค้น แบบแสดงรายการภาษี การออกใบผ่านภาษี และภาษีคนต่างด้าว
  7. ให้บริการออกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร


ส่วนวางแผนและประเมินผล
หน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้ 

  1. จัดทำและประสานกับภาคในการทำประมาณการจัดเก็บภาษี
  2. วางแผนการจัดเก็บภาษีของสำนักงาน
  3. ประเมินผลการจัดเก็บภาษีของสำนักงาน
  4. การวิเคราะห์ฐานภาษี
  5. ตรวจราชการ กำกับ ดูแล การปฏิบัติงานของสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
  6. จัดทำสถิติรายงานทุกประเภทตามระเบียบงานสรรพากร


ส่วนกฎหมายและเร่งรัดภาษีอากรค้าง
หน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้

  1. ดำเนินการเร่งรัดภาษีอากรค้าง
  2. ตอบข้อหารือเกี่ยวกับภาษีที่กรมได้วินิจฉัยชัดเจนแล้ว
  3. สืบสวนเพื่อค้นหาหลักฐานการหลีกเลี่ยง หรือหลีกหนีภาษีเพื่อสนับสุนการตรวจสอบและ การดำเนินคดีตามประมวลรัษฎากรและกฎหมายอื่น
  4. ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อจับกุมผู้ทำลายระบบภาษี


ส่วนกำกับดูแลผู้เสียภาษี
หน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้

  1. กำกับ ดูแล ผู้เสียภาษีโดยใกล้ชิดเป็นรายผู้ประกอบการและให้เป็นปัจจุบัน
  2. บริการให้คำปรึกษา แนะนำ ผู้เสียภาษีให้ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย
  3. สำรวจและขยายฐานภาษี
  4. ตรวจปฏิบัติการผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในท้องที่รับผิดชอบ
  5. ตรวจสอบภาษีไต่สวนประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมแก่ผู้ไม่ยื่นชำระภาษีหรือเสียภาษีไม่ถูกต้อง
  6. ตรวจสอบทั่วไป สำหรับรายที่ถูกขยายฐาน
  7. แนะนำการปฏิบัติที่ถูกต้องในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและสอบยันความถูกต้องของการออกใบกำกับภาษี
  8. ตรวจสอบผู้ขอคืนภาษีเงินได้นิติบุคคล


ส่วนกรรมวิธีและคืนภาษี
หน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้

  1. บันทึก และประมวลผลข้อมูลภาษีด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
  2. ตรวจความถูกต้องของการคำนวณภาษีประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติม
  3. ยกเลิกการประเมินเรียกเก็บภาษี
  4. ควบคุม ติดตาม การหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย
  5. พิจารณาคืนภาษีทุกประเภทแก่ผู้เสียภาษีที่มีภูมิลำเนาในท้องที่
  6. พิจารณาคัดเลือกรายผู้ขอคืนภาษีที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อนส่งให้ส่วนกำกับดูแล ผู้เสียภาษีดำเนินการ
  7. ให้การสนับสนุนข้อมูลภาษีหัก ณ ที่จ่ายแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์แบบแสดงรายการภาษี

ปรับปรุงล่าสุด: 03-06-2021