| | การแสดงผลลัพธ์การค้นหา
ผลลัพธ์ที่ Basic Search แสดงออกมา ประกอบด้วย
1. หัวเรื่อง (Title) : แสดงชื่อหัวเรื่องของข้อมูล
ผู้ใช้สามารถ เข้าไปดูรายละเอียดของข้อมูลจริงได้ โดยการ click ที่หัวเรื่อง
2. รายละเอียด (Description) :
แสดงรายละเอียดของข้อมูลอย่างคร่าวๆ โดยในรายละเอียดนี้ จะเน้นคำสำคัญด้วยตัวอักษรสี
เพื่อให้สะดุดตา โดยจะแสดง URL, วันที่ปรับปรุง, ขนาดของไฟล์ และ ถ้ารายละเอียดใดแสดงด้วยเครื่องหมาย
"..." หมายถึง รายละเอียดของข้อมูลได้ถูกตัดทอนมา เพื่อแสดงเฉพาะส่วนที่เป็นคำสำคัญ
| |
นอกจากนี้ Basic
Search ยังสนับสนุนการสืบค้นข้อมูลแบบกำหนดเงื่อนไขบูลีนอย่างง่ายๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานที่ต้องการข้อมูลที่เฉพาะเจาะจง
และตรงความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด โดยเงื่อนไขบูลีนที่ Basic Search
สนับสนุนมีดังต่อไปนี้
- เครื่องหมายบวก "+" : ใช้ระบุว่า เอกสารที่ต้องการสืบค้น
ต้องปรากฏ คำสำคัญ(ที่ตามหลังเครื่องหมายบวกนี้)
อยู่ในเอกสาร เป็นการให้ความสำคัญกับคำสำคัญนั้น ว่าจะต้องปรากฎในเอกสาร(ในภาษาทางตรรกศาสตร์
หมายถึง and นั่นเอง) เช่น ผู้ใช้ต้องการเอกสารที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและสรรพากร
โดยถือว่าเอกสารที่ค้นพบจะต้องปรากฎทั้งสองคำนี้ ผู้ใช้ต้องระบุคำสำคัญในช่อง
search ดังนี้ +ธุรกิจ +สรรพากร
ตัวอย่างที่ 1
ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นเอกสารที่ปรากฎทั้งคำว่า
ธุรกิจ และ สรรพากร
อยู่ในหน้าเอกสารเดียวกัน
แต่ถ้าหากผู้ใช้ ระบุคำสำคัญดังนี้ +ธุรกิจ
สรรพากร (สังเกตว่า หน้า สรรพากร
ไม่มีเครื่องหมายบวกกำกับ) หมายถึง ผู้ใช้ให้ความสำคัญกับคำว่า ธุรกิจ
มากกว่า คำว่า สรรพากร
นั่นคือ เอกสารที่ค้นพบจะต้องปรากฏ
คำว่า ธุรกิจ ส่วน
สรรพากร(ซึ่งไม่มีเครื่องหมายบวกกำกับ)
จะปรากฎหรือไม่ปรากฎในเอกสาร
ก็ได้
ตัวอย่างที่ 2
ลองสังเกตุจำนวนเอกสารที่ค้นพบเปรียบเทียบระหว่างตัวอย่างที่หนึ่งกับตัวอย่างที่สอง
ปรากฎว่า จำนวนเอกสารในตัวอย่างที่หนึ่งน้อยกว่าในตัวอย่างที่สอง
เพราะว่าตัวอย่างที่สองรวมเอาเอกสารที่ปรากฎคำว่า ธุรกิจแต่ไม่มีคำว่า
สรรพากร รวมอยู่ด้วย
ตัวอย่างที่ 3
ยิ่งระบุคำสำคัญมากขึ้น จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่เจาะจงมากยิ่งขึ้น ดังนี้
+ธุรกิจ +สรรพากร +ดอกเบี้ย +นิติบุคคล
- เครื่องหมายลบ "-" : ใช้ระบุว่า เอกสารที่ต้องการสืบค้น
ไม่ต้องการ ปรากฏคำสำคัญ(ที่ตามหลังเครื่องหมายลบนี้)
อยู่ในเอกสาร (ในภาษาทางตรรกศาสตร์ หมายถึง not นั่นเอง) ยกตัวอย่างเช่น
+ธุรกิจ +สรรพากร - งาน - อสังหาริมทรัพย์
ตัวอย่างที่ 4
หมายถึงการระบุให้หาเอกสารที่ปรากฎคำว่า ธุรกิจ
และ สรรพากร ในหน้าเอกสาร แต่จะต้องไม่มีคำว่า
งาน และ อสังหาริมทรัพย์
ปรากฎอยู่
- เครื่องหมาย" " : ใช้คร่อมคำสำคัญที่ป็นคำวลีที่มีช่องว่างระหว่างคำ
หรือ เพื่อให้ปรากฎเอกสารที่มีรูปแบบ (pattern) ตามรูปแบบที่นั้นจริงๆ
เช่น ผู้ใช้ค้นหาคำว่า "ยกเว้นรัษฎากร
(ฉบับที่ 360)"
ตัวอย่างที่ 5
ลองสังเกตุผลที่แตกต่างจากการไม่ใช้ เครื่องหมาย
" "
ตัวอย่างที่ 6 หมายเหตุ : การใช้เงื่อนไขบูลีนอย่างง่าย มีข้อที่ควรระมัดระวังดังนี้
1.การใช้สัญลักษณ์เครื่องหมาย บวก ("+") หรือ เครื่องหมาย
ลบ ("-") ผู้ใช้จำเป็นต้องเขียนนำหน้าคำสำคัญ และ วางไว้ชิดคำสำคัญเสมอ
ยกตัวอย่างเช่น +ภาษี -ธุรกิจ ,-นิติบุคคล ซ้ำซ้อน,+ธุรกิจ
+สรรพากร - งาน - อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
2 .การใช้คำสำคัญ (Keywords) มากกว่า 1 คำ จะทำให้ผลลัพธ์การค้นหาจำเพาะเจาะจงยิ่งขึ้น
ได้ผลตรงความต้องการของผู้ใช้ยิ่งขึ้น นั่นคือ ถ้าหากผู้ใช้ยิ่งระบุคำสำคัญมากเท่าใด
ก็ยิ่งทำให้ผลลัพธ์จากการค้นหามีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการผู้ใช้มากขึ้นเท่านั้น
โดยอันดับการวางตำแหน่งของคำสำคัญก่อนหลัง จะไม่มีผลแตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น
+กลุ่ม - อินเทอร์เน็ต กับ -อินเทอร์เน็ต
+กลุ่ม จะได้ผลลัพธ์ที่ตรงกัน
3 .โดยปกติ Basic Search จะถือว่า การระบุคำสำคัญมากกว่า 1 คำ โดยไม่กำกับเครื่องหมายบูลีนตามที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น
หมายถึง หรือ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ใช้ระบุ กลุ่ม
อินเทอร์เน็ต หมายถึงการสั่งให้ค้นหาเอกสารที่มีคำว่ากลุ่มหรืออินเทอร์เน็ต
คำใดคำหนึ่ง หรือ ทั้งสองคำ
4 .หากผู้ใช้งาน Basic Search แล้วไม่พบเอกสารตามที่ระบุในช่อง search
box อาจเนื่องมาจากหลายกรณีเช่น
ใช้งาน Basic Search ไม่ถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนด ให้ผู้ใช้งานพิจารณาการใช้งานอีกครั้ง
หรือ ทำความเข้าใจวิธีใช้งานให้ถูกต้องเสียก่อน โดยการอ่านคู่มือการใช้งาน
Basic Search
ไม่พบเอกสารที่ระบุจริงๆ เนื่องจากไม่มีฐานข้อมูล
| |
|