เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/01376
วันที่: 30 มกราคม 2541
เรื่อง: อากรแสตมป์ กรณีการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์เนื่องจากการควบบริษัทหรือการรวมกิจการ
ข้อกฎหมาย: ประเด็นปัญหา
ข้อหารือ: ในการยื่นคำขอโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์และยื่นคำขอเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ อัน
เนื่องมาจากการควบบริษัทและมีการรวมกิจการ ดังนี้ อยู่ในข่ายต้องเสียอากรแสตมป์ตาม
ประมวลรัษฎากร หรือไม่
    1. บริษัท A จำกัด ได้ยื่นคำขอโอนรถยนต์ที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกของบริษัทฯ ให้กับบริษัท B จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่เกิดจากการควบบริษัทระหว่างบริษัท A และ C โดยได้จดทะเบียนถูกต้องแล้ว
    2. ธนาคาร A และธนาคาร B ขอเปลี่ยนชื่อกรรมสิทธิ์รถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ของทั้งสองธนาคารให้เป็นชื่อธนาคาร C เนื่องจากธนาคารทั้งสองดังกล่าวได้รวมกิจการเข้าเป็นธนาคารเดียวกันและได้จดทะเบียนรวมกิจการโดยถูกต้องตามกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น
แนววินิจฉัย: กรณีบริษัทจำกัดควบเข้ากันหรือการรวมกิจการโดยมีการโอนกิจการระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลด้วยกัน โดยที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้โอนกิจการต้องจดทะเบียนเลิกและมีการชำระบัญชีในรอบระยะเวลาบัญชีที่โอนกิจการนั้น ให้ตีราคาทรัพย์สินตามราคาตลาดในวันที่ควบเข้ากัน หรือในวันที่จดทะเบียนเลิก แต่ไม่ให้ถือเป็นรายได้หรือรายจ่ายในการคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิ ตามมาตรา 74 (1) (ข) และ (ค) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น การโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ระหว่างบริษัทเดิมให้กับบริษัทใหม่กรณีควบเข้ากันหรือรวมกิจการดังกล่าว จึงไม่มีรายได้แต่อย่างใด แบบคำขอโอนและรับโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ระหว่างบริษัทเดิมให้กับบริษัทใหม่หรือระหว่างบริษัทผู้โอนกับบริษัทผู้รับโอนของกรมการขนส่งทางบกนั้น จึงไม่เข้าลักษณะเป็นใบรับตามลักษณะแห่งตราสารที่ 28. (ค)แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ท้ายหมวด 6 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 61/26357

 

 

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020