เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811(กม)/399
วันที่: 4 มีนาคม 2541
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การหักค่าใช้จ่าย
ข้อกฎหมาย: มาตรา 40 (8), พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 11)
ข้อหารือ: 1. กรณีบุคคลธรรมดามีเงินได้จากการรับซ่อมรถยนต์ เปิดเป็นอู่ซ่อมรถยนต์โดยที่ผู้ว่าจ้าง
เป็นผู้จัดหาอะไหล่ให้เอง ผู้รับจ้างซ่อมรถยนต์จึงได้รับค่าซ่อมรถยนต์เพียงอย่างเดียว เงินได้ดังกล่าวจัด
เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใด มาตราใด ตามประมวลรัษฎากรและมีสิทธิ์หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา
ได้ร้อยละเท่าใด
2. กรณีบุคคลธรรมดามีเงินได้จากการรับจ้างกลึงโลหะ เปิดเป็นโรงกลึงโลหะ โดยมี
รายได้จากการรับจ้างกลึงโลหะทุกชนิด เงินได้ดังกล่าวจัดเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใด มาตราใด
ตามประมวลรัษฎากร และมีสิทธิ์หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละเท่าใด
แนววินิจฉัย: 1. กรณีบุคคลธรรมดา ประกอบกิจการอู่ซ่อมรถยนต์ เป็นการให้บริการรับจ้างซ่อมรถยนต์
เข้าลักษณะเงินได้พึงประเมินจากการประกอบธุรกิจตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ถึงแม้ว่า
ผู้ว่าจ้างเป็นผู้จัดหาอะไหล่ให้เอง และผู้รับจ้างซ่อมรถยนต์จะได้รับค่าซ่อมรถยนต์เพียงอย่างเดียวก็ตาม
ก็ไม่มีสิทธิ์หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้เนื่องจากเงินได้จากการให้บริการรับจ้างซ่อมรถยนต์ มิได้ระบุไว้
ในมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอม
ให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502
2. กรณีบุคคลธรรมดา ประกอบกิจการโรงกลึงโลหะเป็นการให้บริการรับจ้างกลึงโลหะ
เข้าลักษณะเงินได้พึงประเมินจากการประกอบธุรกิจ ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่มีสิทธิ์
หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ เนื่องจากเงินได้จากการให้บริการรับจ้างกลึงโลหะ มิได้ระบุไว้ในมาตรา
8 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจาก
เงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502
ทั้งสองกรณีผู้มีเงินได้ฯ ต้องหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรโดยนำมาตรา 65
ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่
21) พ.ศ. 2517 และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไข
เพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตามนัยมาตรา 8 ทวิ แห่ง
พระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2502
เลขตู้: 61/26465

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020