เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/04028
วันที่: 1 เมษายน 2541
เรื่อง: เงื่อนไขการปฏิบัติเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีกำไรหรือขาดทุนจากการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา
ข้อกฎหมาย: มาตรา 65 ทวิ (5), คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.72/2540 ฯ
ข้อหารือ: คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.72/2540 ฯ ลงวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ได้วาง
แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เนื่องจาก
การปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราตามประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2540
ไว้ 3 วิธี และในข้อ 4 ของประกาศฉบับดังกล่าว กำหนดเป็นเงื่อนไขว่า "เมื่อ
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดได้เลือกปฏิบัติตามข้อ 1 ข้อ 2 หรือ ข้อ 3 แล้ว
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ต้องปฏิบัติอย่างเดียวกันทั้งในด้านรายได้และรายจ่ายและทั้งในบัญชีของ
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเอง รวมตลอดทั้งในบัญชีเพื่อประโยชน์ในการคำนวณกำไรสุทธิหรือ
ขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย" ณ วันสิ้นงวดบัญชีหากบริษัทได้คำนวณค่าของทรัพย์สินหรือ
หนี้สินซึ่งมีราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่เป็นเงินตราไทยตามมาตรา 65 ทวิ (5) วรรคหนึ่ง
แห่งประมวลรัษฎากร ผลของการคำนวณบริษัทได้นำผลกำไรหรือขาดทุนจากการตีราคาทรัพย์สินหรือหนี้สิน
ดังกล่าวไปถือเป็นรายได้หรือรายจ่ายทั้งจำนวนแล้วแต่กรณี ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักการบัญชีที่
รับรองทั่วไป แต่ในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น ถ้าบริษัทมีความ
ประสงค์จะเลือกปฏิบัติตามข้อ 2 หรือ ข้อ 3 ไม่ว่าวิธีใดแล้วก็จะขัดกับเงื่อนไขในข้อ 4 ซึ่งหมายความ
ว่าถ้าบริษัทใดจะเลือกปฏิบัติตามข้อ 2 หรือ ข้อ 3 โดยไม่ขัดกับข้อ 4 บริษัทก็ต้องปฏิบัติในด้านรายได้
และรายจ่ายที่ไม่สอดคล้องกับหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งทำให้ผู้ตรวจสอบบัญชีต้องรับรองงบการเงิน
ของบริษัทอย่างมีเงื่อนไข
สำหรับเงื่อนไขตามข้อ 4. ถ้าประสงค์จะให้บริษัทแสดงกำไรหรือขาดทุนสุทธิในบัญชีของ
บริษัทให้ตรงกับบัญชี เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเพื่อความสะดวกในการควบคุมการเสียภาษีให้ถูกต้อง
แล้ว ก็เพียงแต่กำหนดเงื่อนไขให้บริษัทแสดงให้ชัดเจนว่า บริษัทได้เลือกใช้วิธีการคำนวณรายได้หรือ
รายจ่ายที่เกิดจากการคำนวณทรัพย์สินหรือหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่เป็นเงินตราไทยตาม
วิธีใดและต่างจากการบันทึกบัญชีของบริษัทอย่างไรใน แบบ ภ.ง.ด.50 ของแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีที่
เกี่ยวข้องก็พอเพียงกับการควบคุมให้การเสียภาษีถูกต้องแล้ว เช่น ถ้าบริษัทมีผลขาดทุนจาก
อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 65 ทวิ (5) วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร
คือวันที่ 31 ธันวาคม 2540 ตามบัญชีทั้งหมดเท่ากับ 1,000 ล้านบาท แต่ประสงค์ที่จะเลือกนำมาถือเป็น
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 รอบระยะเวลาบัญชีเท่ากันทุก
รอบระยะเวลาบัญชีตามข้อ 3 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.72/2540 ก็ต้องแสดงในแบบ
ภ.ง.ด.50 ของแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีที่เกี่ยวข้อง
รอบระยะเวลา ขาดทุนอัตรา ขาดทุนที่ใช้ในรอบ ขาดทุนคงเหลือ
บัญชีสิ้นสุด แลกเปลี่ยนรวมตาม ระยะเวลาบัญชี ยกไป
1/12/2540 1,000 200 800
31/12/2541 - 200 600
31/12/2542 - 200 400
31/12/2543 - 200 200
31/12/2544 - 200 -
จึงขอให้ผ่อนปรนข้อ 4 ของคำสั่งอธิบดีกรมสรรพากร ที่ ท.ป.72/2540 ฯ ลงวันที่ 24
กรกฎาคม พ.ศ. 2540 โดยไม่ต้องกำหนดเงื่อนไขในการบันทึกบัญชีด้านรายได้และรายจ่ายที่เกิดขึ้นจาก
การปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราในบัญชีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เนื่องจากกรณี
ดังกล่าวจะต้องมีการปฏิบัติให้สอดคล้องกับหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปอยู่แล้ว แต่ควรกำหนดเงื่อนไขซึ่ง
สามารถนำมาใช้เป็นมาตรการสำหรับควบคุมการเสียภาษีให้ถูกต้อง
แนววินิจฉัย: กรณีตามข้อเท็จจริงดังกล่าว กรมสรรพากรได้พิจารณาผ่อนปรนให้
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะต้องคำนวณกำไรสุทธิให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 30 แต่ใน
การยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลมีความประสงค์จะนำผลกำไรหรือขาดทุนจาก
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมาถือเป็นรายได้หรือรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามข้อ 2
และ ข้อ 3 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.72/2540 ฯลงวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ก็ให้
กระทำได้ โดยให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหมายเหตุประกอบงบการเงินว่า การคำนวณกำไรหรือ
ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดลงในหรือหลัง
วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ใช้วิธีการข้อใดของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.72/2540 ฯลงวันที่ 24
กรกฎาคม พ.ศ. 2540 และให้หมายเหตุประกอบงบการเงินแต่ละปีจนกว่าการคำนวณรายได้หรือ
รายจ่ายตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.72/2540 ฯ ลงวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 จะหมดสิ้น
ไป โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ต้องบันทึกบัญชีและจัดทำงบกำไรขาดทุนให้เป็นวิธีการเดียวกับ
การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลก็ได้
เลขตู้: 61/26548

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020