เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/6890
วันที่: 22 พฤษภาคม 2541
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล การบันทึกบัญชีเงินปันผลค้างจ่าย
ข้อกฎหมาย: มาตรา 193/30 และมาตรา 1002 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ข้อหารือ: บริษัท ก. จำกัด จ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นในปีภาษี และบริษัทฯ ได้บันทึกการจ่าย
เงินปันผลและจ่ายเป็นเช็คในปีภาษีนั้น ต่อมาหลังปีภาษีดังกล่าว ผู้ถือหุ้นไม่นำเช็คเงินปันผลไปขึ้นเงิน
และเช็คได้หมดอายุการขึ้นเงินแล้ว โดยไม่มีการติดต่อใด ๆ กลับมายังบริษัทฯ เพื่อขอรับเงินอีก
1. บริษัทฯ จะต้องตั้งบัญชีเงินปันผลค้างจ่ายสำหรับเงินปันผลที่ไม่มีการนำเช็คมาขึ้นเงิน
นานเท่าใดนับจากวันที่บริษัทจ่ายเช็ค หรือนับจากวันที่บริษัทฯ ประกาศจ่ายเงินปันผล
2. บริษัทฯ สามารถล้างบัญชีเงินปันผลค้างจ่ายดังกล่าวที่ไม่ได้นำไปขึ้นเงินได้หรือไม่
และหากสามารถรับรู้เป็นรายได้อื่นได้ บริษัทฯ จะรับรู้เป็นรายได้ ได้เมื่อใด
แนววินิจฉัย: กรณีตามข้อเท็จจริงอายุความการฟ้องร้องคดีเช็คมีกำหนดเวลา 1 ปีนับแต่วันที่เช็คถึง
กำหนด ตามมาตรา 1002 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และผู้ทรงเช็คอาจใช้สิทธิเรียกร้องฟ้อง
บริษัทฯ ตามมูลหนี้เดิม (ฟ้องให้จ่ายเงินปันผลใหม่) ภายในอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับ
สิทธิเรียกร้องได้ ตามมาตรา 193/30 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ดังนั้น กรณีตาม 1 และ 2 บริษัทฯ ควรตั้งบัญชีเงินปันผลค้างจ่ายเป็นเวลา 1 ปี นับจาก
วันที่ลงในเช็ค และบันทึกล้างบัญชีเงินปันผลค้างจ่าย เพื่อบันทึกเป็นรายได้ เมื่อพ้นกำหนดเวลา 1 ปี
แล้ว
อย่างไรก็ดี หากผู้ถือหุ้นฟ้องร้องบริษัทฯ ให้ชำระเงินปันผลดังกล่าวภายในอายุความ 10 ปี
(ตามมูลหนี้เดิม) นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ ซึ่งมีผลทำให้บริษัทฯ ต้องจ่ายเงินปันผลให้กับ
ผู้ถือหุ้น บริษัทฯ จะต้องบันทึกเงินปันผลที่รับรู้เป็นรายได้แล้ว กลับมาลงเป็นรายจ่ายใน
รอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่ายเงินปันผลด้วย
เลขตู้: 61/26686

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020