เลขที่หนังสือ | : กค 0811/08491 |
วันที่ | : 11 มิถุนายน 2541 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีบริษัทเกาหลีทำสัญญาให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 40(3), มาตรา 41, มาตรา 70, มาตรา 76 ทวิ, พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 |
ข้อหารือ | : กรณีบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศไทย (บริษัทไทย) ประกอบธุรกิจผลิตชิ้นส่วน เครื่องไฟฟ้า ประสงค์จะได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิคจากบริษัทแม่ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ของประเทศสาธารณรัฐเกาหลี (บริษัทเกาหลี) ประกอบธุรกิจผลิตชิ้นส่วนเครื่องไฟฟ้า โดยบริษัทเกาหลี จะได้ส่งวิศวกรเข้ามาให้ความช่วยเหลือในประเทศไทยเป็นครั้งคราว ดังนั้น เมื่อบริษัทไทยจ่ายค่าจ้าง ตามสัญญาดังกล่าวออกไปให้บริษัทเกาหลี จะต้องมีการหักภาษีไว้หรือไม่ และเมื่อวิศวกรชาวเกาหลีเข้า มาทำงานในประเทศไทย จะต้องมีภาระภาษีใด ๆ หรือไม่ |
แนววินิจฉัย | : 1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล 1.1 กรณีบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ทำสัญญาให้ความ ช่วยเหลือทางเทคนิค แก่บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศไทย ไม่เข้าลักษณะเป็นการ ประกอบกิจการในประเทศไทย ตามมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร 1.2 เงินได้ที่บริษัทเกาหลีได้รับ เข้าลักษณะเป็นค่าสิทธิ ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (3) แห่งประมวลรัษฎากร และเข้าลักษณะเป็นค่าตอบแทนเพื่อการใช้ข้อสนเทศเกี่ยวกับ ความรู้ทางอุตสาหกรรมการพาณิชย์ หรือวิทยาศาสตร์ ประสบการณ์หรือทักษะ ซึ่งเป็นค่าสิทธิ ตามข้อ 13 แห่งอนุสัญญาระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน ในส่วนที่ เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ ดังนั้น เมื่อบริษัทไทยจ่ายเงินดังกล่าวออกไปให้กับบริษัทเกาหลี ซึ่งไม่มี สถานประกอบการถาวรในประเทศไทยจึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้ตาม มาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 13 แห่งอนุสัญญาฯ ประกอบกับพระราชกฤษฎีกา ออกตาม ความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2.1 กรณีที่วิศวกรสัญชาติเกาหลีเข้ามาทำงานในเมืองไทย วิศวกรดังกล่าวมีหน้าที่ต้อง เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ดี หากปรากฏ ข้อเท็จจริงว่า วิศวกรดังกล่าวเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐเกาหลีและ (ก) อยู่ในประเทศไทย ชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ ซึ่งรวมแล้วไม่เกิน กว่า 183 วัน ในปีรัษฎากรที่เกี่ยวข้อง และ (ข) เงินได้นั้นจ่ายโดย หรือในนามของบุคคลอื่นที่ไม่เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในหรือบรรษัท ของประเทศไทย และ (ค) เงินได้นั้น มิได้ตกเป็นภาระแก่สถานประกอบการถาวร ซึ่งบุคคล ผู้จ่ายเงินได้นั้นมีอยู่ในประเทศไทย กรณีดังกล่าว วิศวกรผู้มีเงินได้ย่อมได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใน ประเทศไทยตามข้อ 15 แห่งอนุสัญญาฯ ประกอบกับพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 2.2 กรณีที่วิศวกรชาวเกาหลี ซึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐเกาหลี มีหน้าที่ ต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทยแล้ว บุคคลดังกล่าวย่อมมีสิทธินำภาษีที่เสียในประเทศไทยไปเป็นเครดิตหัก จากภาษีของสาธารณรัฐเกาหลีได้ ตามบทของกฎหมายเกี่ยวกับภาษีต่างประเทศ ตามข้อ 5 แห่งอนุสัญญาฯ |
เลขตู้ | : 61/26779 |