เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/10215
วันที่: 7 กรกฎาคม 2541
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การเรียกเก็บภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และอากรแสตมป์ในการจดทะเบียนประเภทให้ (ระหว่างจำนอง)
ข้อกฎหมาย: มาตรา 39, มาตรา 49 ทวิ, มาตรา 123 ตรี
ข้อหารือ: สำนักงานที่ดินขอทราบทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเก็บภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และอากรแสตมป์
กรณีนาย ก. ยื่นคำขอจดทะเบียนประเภทให้ (ระหว่างจำนอง) พร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่นาย ข. บุตร
ชาย โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน และนาย ข. ผู้รับให้ยินยอมรับภาระหนี้ที่นาย ก. จดทะเบียนจำนอง
เป็นประกันไว้กับธนาคาร ค.เป็นเงินจำนองทั้งสิ้น 1,400,000 บาท โดยได้แสดงราคาทรัพย์สินไว้
เป็นเงิน 1,400,000 บาท เท่าราคาจำนอง และพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินราคาทุนทรัพย์ที่ดินดัง
กล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างรวมเป็นราคาประเมินทุนทรัพย์ 613,470 บาท ขอทราบว่าสัญญาให้
(ระหว่างจำนอง) ที่ผู้ให้และผู้รับให้แจ้งว่าเป็นการให้โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน แต่ผู้รับให้ยิน
ยอมรับภาระหนี้อันจำนองเป็นประกันเช่นนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องเรียกเก็บภาษีเงินได้หัก ณ ที่
จ่าย และอากรแสตมป์ หรือไม่ และถ้าจะต้องเรียกเก็บแล้ว จะให้เรียกเก็บจากราคาใด กล่าวคือ จาก
ราคาประเมินทุนทรัพย์ หรือราคาทุนทรัพย์ที่นาย ข. แสดงหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่จำนอง
แนววินิจฉัย: กรณีตามข้อเท็จจริง นาย ก. ผู้ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เมื่อวันที่ 22
ตุลาคม 2540 การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่นาย ข. เป็นการให้โดยเสน่หาไม่มี
ค่าตอบแทน แต่นาย ข. ผู้รับให้ต้องรับภาระหนี้จำนองเป็นเงิน 1,400,000 บาท การโอนกรรมสิทธิ์
หรือสิทธิครอบครองใน อสังหาริมทรัพย์ กรณีนี้จึงเป็นการขาย ตามคำนิยาม "ขาย" ตามมาตรา 39
แห่งประมวลรัษฎากร การจดทะเบียนขายอสังหาริมทรัพย์ระหว่างจำนอง โดยผู้ซื้อผู้ขายมีการตกลงให้
ผู้ซื้อยอมรับภาระหนี้ที่จำนองเป็นประกัน ซึ่งผู้ขายหรือลูกหนี้เป็นหนี้ผู้รับจำนองแทนผู้ขายหรือลูกหนี้โดยมิได้
ชำระเงิน เช่น ผู้ซื้อผู้ขายตกลงซื้อขายที่ดินระหว่างจำนองโดยไม่มีการชำระเงิน แต่ผู้ซื้อยอมรับภาระหนี้
ที่จำนองเป็นประกันเป็นเงิน 1,400,000 บาท โดยมีราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนเป็นเงิน
613,470 บาท
(1) การเรียกเก็บภาษีเงินได้จะต้องเรียกเก็บจากราคาประเมินทุนทรัพย์ เพื่อเรียกเก็บ
ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ในวันที่มีการ
โอนนั้น ตามมาตรา 49 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร คือจำนวน 613,470 บาท ซึ่งถือเป็นราคาขาย
(2) การเรียกเก็บอากรแสตมป์เป็นตัวเงินจะต้องเรียกเก็บจากราคาทุนทรัพย์ในการ
จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม หรือราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและ
นิติกรรม ตามประมวลกฎหมายที่ดินแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า ตามมาตรา 123 ตรี แห่ง
ประมวลรัษฎากร คือ จำนวน 1,400,000 บาท
เลขตู้: 61/26885

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020