เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/12587
วันที่: 25 สิงหาคม 2541
เรื่อง: อากรแสตมป์ กรณีส่วนราชการเป็นผู้ทำสัญญาให้กู้ยืม
ข้อกฎหมาย: มาตรา 104, มาตรา 121
ข้อหารือ: หน่วยงานราชการได้ให้ประชาชนกู้ยืมเงินจากเงินทุนหมุนเวียนประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. เงินทุนประชาศึกษาสงเคราะห์ (ทปศ.1) เป็นเงินทุนหมุนเวียนที่ให้ประชาชนที่ประสบ
ความทุกข์ยากเดือดร้อน ไม่มีเงินทุนที่จะใช้จ่ายในการศึกษาของบุตรหลาน กู้ยืมไปเป็นทุนในการศึกษา
โดยผ่อนชำระคืนเงินกู้ให้แก่ทางราชการภายในกำหนด 5 ปี โดยไม่เสียดอกเบี้ย
2. เงินทุนประชาเศรษฐกิจสงเคราะห์ (ทปศ.2) เป็นเงินทุนหมุนเวียนที่ให้ประชาชนที่
ประสบความทุกข์ยากเดือดร้อน มีรายได้น้อย ไม่มีทุนเพียงพอ หรือขยายอาชีพทางเกษตรกรรม พณิชยการ
รม หรืออาชีพอื่น ๆที่คณะกรรมการเห็นสมควรหรือมีหนี้สินในการประกอบอาชีพกู้ยืมไปเป็นทุนในการ
ประกอบอาชีพหรือปลดเปลื้องหนี้สิน โดยผ่อนชำระคืนเงินกู้ให้แก่ทางราชการภายในกำหนด 5 ปี โดย
ไม่เสียดอกเบี้ย
3. เงินทุนเศรษฐกิจสงเคราะห์ (ทปศ.3) เป็นเงินทุนหมุนเวียนที่ส่งเสริมสนับสนุนให้
ประชาชนที่ประสบความทุกข์ยาก เดือดร้อน อัตคัตขาดทุนทรัพย์ในการประกอบอาชีพ ให้กู้ยืมไปเป็นทุน
ประกอบอาชีพโดยผ่อนชำระคืนเงินกู้ให้แก่ทางราชการภายในกำหนด 5 ปี โดยไม่เสียดอกเบี้ย
4. เงินทุนหมุนเวียนส่งเสริมอาชีพสตรี เป็นเงินทุนหมุนเวียนที่ให้เยาวสตรีที่ได้รับการฝึก
อบรมวิชาชีพเพื่อป้องกันไม่ให้เยาวสตรีไปประกอบอาชีพที่ไม่เหมาะสมและสตรีชนบทที่ได้รับการฝึกอาชีพ
ตามโครงการสร้างชีวิตใหม่ให้สตรีในชนบทมีอาชีพ และรายได้พอควรอยู่ในท้องถิ่นกับครอบครัวของ
ตนเองอย่างผาสุกได้กู้ยืมเงินไปลงทุนประกอบอาชีพที่ได้รับการฝึกอบรมโดยผ่อนชำระคืนภายในกำหนด 6
เดือนโดยไม่เสียดอกเบี้ย
5. เงินกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการ
ดำเนินงานและสงเคราะห์ช่วยเหลือคนพิการเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับคนพิการกู้ยืมไปประกอบอาชีพเพื่อ
ไม่ให้เป็นภาระแก่สังคมและทางราชการต่อไปโดยผ่อนชำระคืนภายในกำหนด 5 ปี โดยไม่เสียดอกเบี้ย
การให้กู้ยืมดังกล่าว ถือเป็นการให้บริการของรัฐในด้านสวัสดิการสังคมและ
สังคมสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ตามนโยบายของรัฐบาลและการให้กู้ยืมดังกล่าวได้จัด
ให้บุคคลภายนอกค้ำประกันเงินกู้ด้วย จึงขอทราบว่าสัญญากู้ยืมที่หน่วยงานราชการ เป็นผู้ให้กู้แก่ประชาชน
และสัญญาค้ำประกันเงินกู้ดังกล่าวต้องเสียอากรแสตมป์หรือไม่
แนววินิจฉัย: 1. สัญญากู้ยืมเงิน เข้าลักษณะแห่งตราสาร 5. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ตาม
ประมวลรัษฎากร ผู้ให้กู้เป็นผู้มีหน้าที่เสียอากร แต่เนื่องจากตามข้อเท็จจริง ผู้ให้กู้ได้แก่ หน่วยงาน
ราชการ ซึ่งเข้าลักษณะฝ่ายที่ต้องเสียอากรเป็นรัฐบาล และกรณีดังกล่าวไม่เข้าลักษณะ
องค์การของรัฐบาลที่ใช้ทุนหรือทุนหมุนเวียนเพื่อประกอบการพาณิชย์ กรณีดังกล่าวจึงไม่ต้องเสีย
อากรแสตมป์สำหรับสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว ตามมาตรา 121 แห่งประมวลรัษฎากร
2. สัญญาค้ำประกัน เข้าลักษณะแห่งตราสาร 17. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ตาม
ประมวลรัษฎากร ผู้ค้ำประกันเป็นผู้มีหน้าที่เสียอากร แต่ถ้าเป็นการค้ำประกันหนี้เนื่องแต่การที่รัฐบาลให้
ราษฎรกู้ยืมหรือยืมเพื่อการบริโภคหรือการเกษตรกรรม ย่อมได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากร
เลขตู้: 61/27020

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020