เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/13842
วันที่: 22 กันยายน 2541
เรื่อง: การคืนภาษีตามการวินิจฉัยร้องทุกข์
ข้อกฎหมาย: มาตรา 91/2(6), พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534
ข้อหารือ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีหนังสือแจ้งผลการวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์รายนาย ก.
และได้มีคำสั่งให้คืนภาษีธุรกิจเฉพาะจำนวน 51,084 บาท ให้แก่ผู้ร้องทุกข์โดยเร็วตามคำวินิจฉัย จึงขอ
ทราบว่า
(1) การขายที่ดินของนาย ก. กรมสรรพากรได้มีคำวินิจฉัยว่าเข้าลักษณะเป็นการขาย
อสังหาริม ทรัพย์ที่เป็นทางการค้าหรือหากำไร ตามมาตรา 3 (6) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่
244) พ.ศ. 2534 นาย ก. มีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/2 (6) แห่ง
ประมวลรัษฎากรแล้ว เมื่อนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งให้กรมสรรพากรและสำนักงานสรรพากรจังหวัดคืน
ภาษีอากรดังกล่าว จะถือปฏิบัติตามคำสั่งใด
(2) เมื่อนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งให้กรมสรรพากรและสำนักงานสรรพากรจังหวัดคืน
ภาษีธุรกิจเฉพาะ จำนวน 51,084 บาท ให้แก่ผู้ร้องทุกข์ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
นั้น การที่เจ้าหน้าที่จะดำเนินการคืนภาษีธุรกิจเฉพาะก็จะต้องปฏิบัติตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการ
คืนภาษีอากร พ.ศ. 2539 แต่เมื่อพิจารณาจาก (1) จะเห็นว่าทั้ง "ผู้ขอคืน" และ "ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่ง
คืนเงินภาษี" ไม่อยู่ในคำจำกัดความของระเบียบดังกล่าว
แนววินิจฉัย: การสั่งการดังกล่าวเป็นการสั่งการตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522
ซึ่งส่วนราชการมีหน้าที่ต้องดำเนินการตามคำสั่งและการที่คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ได้วินิจฉัยว่า
การขายที่ดินของนาย ก. ไม่ใช่การขายอสังหาริมทรัพย์ภายใน 5 ปี นับแต่วันได้มา จึงเป็นข้อยุติว่า
นาย ก. ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ สำหรับกรณีการปฏิบัติตามระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วย
การคืนเงินภาษีอากร การที่นาย ก. ได้ชำระภาษีธุรกิจเฉพาะไว้ จึงเป็นกรณีตาม (1) ผู้เสียภาษีอากร
ซึ่งได้ชำระภาษีอากรไว้เกิน หรือผิดหรือซ้ำ ตามความหมาย "ผู้ขอคืน" ตามข้อ 4 ของ
ระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการคืนเงินภาษีอากร พ.ศ. 2539 สำหรับผู้มีอำนาจอนุมัติและการอนุมัติ
คืนเงินภาษีอากรต้องเป็นไปตามข้อ 15.3 ได้แก่สรรพากรจังหวัดหรือผู้ที่สรรพากรจังหวัดมอบหมาย
สำหรับผู้ขอคืนในท้องที่ที่รับผิดชอบตามระเบียบกรมสรรพากรดังกล่าว
เลขตู้: 61/27115

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020