เลขที่หนังสือ | : กค 0811/16550 |
วันที่ | : 1 ธันวาคม 2541 |
เรื่อง | : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการโอนขายสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 78(2), มาตรา 86 |
ข้อหารือ | : บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจการให้เช่าซื้อ และการให้เช่าแบบลิสซิ่ง กรณีสัญญาเช่าซื้อ หาก ผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระหนี้ และบริษัทฯ ได้ออกใบกำกับภาษี ตามมาตรา 78 (2) และนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามปกติ โดยบริษัทฯ ต้องเป็นผู้จ่ายชดเชยภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้เช่าซื้อในงวดที่ผู้เช่าซื้อค้างชำระตาม ข้อผูกพันในกฎหมายต่อมาหากมีบุคคลหรือนิติบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเข้ามารับโอนสิทธิของสัญญาเช่าซื้อนั้น โดย เข้ารับโอนสิทธิภาระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ ตั้งแต่งวดที่ค้างชำระจนจบสัญญา ขอทราบว่าในกรณีนี้บริษัทฯ สามารถออกใบลดหนี้ ของงวดที่ผู้เช่าซื้อเดิมค้างชำระซึ่ง บริษัทฯ ได้เป็นผู้จ่ายชดเชยภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยใบกำกับภาษีเดิมออกในนามของผู้เช่าซื้อเดิม และบริษัทฯ จะออกใบกำกับภาษีใหม่ให้แก่ผู้รับโอนสิทธิในนามผู้รับโอนสิทธิซึ่งเป็นผู้ชำระค่างวดและภาษีมูลค่าเพิ่มของ งวดที่ค้างชำระได้หรือไม่อย่างไร บริษัทฯ จะขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนที่ บริษัทฯ จ่ายชดเชย ภาษีมูลค่าเพิ่มแทนตามข้อผูกพันในกฎหมายในแบบ ค.10 ได้หรือไม่อย่างไร |
แนววินิจฉัย | : 1. การขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อให้ความรับผิดเกิดขึ้น เมื่อถึงกำหนดชำระราคาตาม งวดที่ถึงกำหนดชำระราคาแต่ละงวด ตามมาตรา 78 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น บริษัทฯ ผู้ให้เช่าซื้อจึงต้องออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อทุกครั้ง เมื่อถึงกำหนดชำระราคาแต่ละงวด ตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากรถึงแม่ผู้เช่าซื้อไม่ได้ชำระราคาสินค้าตามงวดที่ถึงกำหนดชำระแต่ละงวดก็ตาม จึง ไม่มีกรณีที่บริษัทฯ จะออกใบลดหนี้หรือขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัทฯ ได้ชำระแทนผู้เช่าซื้อดังกล่าวแต่ อย่างใด 2. กรณีมีการโอนขายสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ เมื่อผู้ซื้อได้รับโอนลูกหนี้เช่าซื้อจากบริษัทฯ แล้ว ถือเป็นการซื้อขายขาดผู้ซื้อไม่มีหน้าที่ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มของลูกหนี้เช่าซื้อที่ค้างชำระค่างวดก่อน ได้รับโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อแต่อย่างใด ไม่ว่าบริษัทฯ จะนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนที่ลูกหนี้ค้างชำระ ไว้แล้วหรือไม่ก็ตาม สำหรับผู้ซื้อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจะเกิดขึ้นสำหรับงวดที่ถึงกำหนดชำระ ตั้งแต่วันได้รับโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อเป็นต้นไป ถึงแม้ลูกหนี้ผู้เช่าซื้อจะไม่ได้ชำระราคาสินค้าตามงวดที่ ถึงกำหนดชำระแต่ละงวดก็ตาม จึงไม่มีกรณีที่มีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มซ้ำซ้อนแต่อย่างใด |
เลขตู้ | : 61/27321 |