เลขที่หนังสือ | : กค 0811/16714 |
วันที่ | : 4 ธันวาคม 2541 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร และการขอคืนภาษี |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 27 ตรี, มาตรา 42, มาตรา 50(2)(ข), มาตรา 54, มาตรา 57 เบญจ |
ข้อหารือ | : 1. บุคคลธรรมดา นำเงินไปฝากธนาคาร ในการจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารผู้จ่ายจะหัก ไว้ในอัตราร้อยละเท่าไร ธนาคารผู้จ่ายดอกเบี้ยต้องปฏิบัติเหมือนกันทุกแห่งหรือไม่และหากหักไว้ไม่ ครบถ้วนจะต้องรับผิดกรณีใดบ้าง 2. สามี-ภริยา ต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ประเภทเงินเดือน และถึงเกณฑ์ที่จะต้องยื่นแบบแสดง รายการภาษีเงินได้ โดยฝ่ายภริยาได้รับเงินปันผลจากบริษัทอีกจำนวนหนึ่ง ในการยื่นแบบแสดงรายการ เงินปันผลฝ่ายใดมีหน้าที่ต้องนำไปยื่นแบบแสดงรายการ 3. การขอคืนภาษีอากร จะขอคืนได้ภายในระยะเวลาเท่าใด |
แนววินิจฉัย | : 1. กรณีบุคคลธรรมดา มีเงินได้จากดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร ที่ไม่เข้าลักษณะเงินได้ที่ได้ รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 42 (8) (19) และ (17) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ข้อ 2 (11) (21) (22) (38) (46) ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ให้ผู้จ่ายเงินได้คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 ของ เงินได้ ตามมาตรา 50 (2) (ข)แห่งประมวลรัษฎากร กรณีตามข้อเท็จจริงธนาคารผู้จ่าย ดอกเบี้ยเงินฝากต้องปฏิบัติเหมือนกันทุกแห่ง โดยคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 ของ ดอกเบี้ยทุกคราวที่จ่ายดอกเบี้ย และหากหักไว้ไม่ครบถ้วน ต้องรับผิดดังนี้ (1) ความรับผิดทางแพ่ง (ก) ในกรณีที่ผู้จ่ายไม่ได้หักและนำส่ง หรือได้หักและนำส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ ถูกต้องผู้จ่ายและผู้มีเงินได้จะต้องรับผิดร่วมกันในจำนวนภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนที่มิได้หักและนำส่ง หรือตามจำนวนที่นำส่งขาดไปแล้วแต่กรณี ตามมาตรา 54 วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร (ข) ในกรณีที่ผู้จ่ายไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย แม้ต่อมาผู้มีเงินได้หรือผู้เสียภาษีได้นำ เงินเสียภาษีไปชำระแล้วก็ตาม ผู้จ่ายซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ยังคงต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มอยู่ (ค) ในกรณีนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายไม่ครบ หรือขาดจำนวน หรือไม่นำส่งเลย หรือล่วงเลยเวลาที่กำหนด ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่ม ตามมาตรา 27 แห่ง ประมวลรัษฎากร ในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ชำระไว้ไม่ครบ หรือ ขาดหรือไม่นำส่งหรือล่วงเลยเวลาที่กำหนด (2) ความรับผิดทางอาญา การไม่หักภาษี ณ ที่จ่ายไม่เป็นเหตุให้ไม่ต้องนำส่งเงินภาษี ผู้จ่ายเงินจึงยังคงมี หน้าที่ยื่นรายการนำส่งภาษีตามปกติ หากไม่ยื่นรายการย่อมเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 17 แห่ง ประมวลรัษฎากร มีความผิดตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท 2. ในการคำนวณภาษีเงินได้จากสามีและภริยานั้น ถ้าสามีและภริยาอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ ล่วงมาแล้ว ให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิด ในการยื่นรายการ และเสียภาษี... การที่สามีภริยาอยู่ต่างท้องที่กัน หรือต่างคนต่างอยู่เป็นครั้งคราว ยังคงถือว่าอยู่ร่วมกัน... ถ้าสามีหรือภริยามีความประสงค์จะแยกยื่นรายการแยกกันก็ให้ทำได้ โดยแจ้ง ให้พนักงานประเมินทราบภายในเวลาซึ่งกำหนดให้ยื่นรายการ แต่การแยกกันยื่นรายการนั้น ไม่ทำให้ภาษี ที่ต้องเสียเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ทั้งนี้ ตามมาตรา 57 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร และถ้าภริยามี เงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (1) ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ไม่ว่าจะมีเงินได้พึงประเมินอื่นด้วยหรือไม่ ภริยาจะแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (1) โดยมิให้ถือเป็นเงินได้ของสามี ตามมาตรา 57 ตรี ก็ได้ ตามมาตรา 57 เบญจ แห่ง ประมวลรัษฎากร กรณีตามข้อเท็จจริง ภริยามีเงินได้ประเภทเงินเดือน หรือ ตามมาตรา 40 (1) ในปีภาษี และมีเงินได้ประเภทเงินปันผล หรือ ตามมาตรา 40 (4) (ข) ภริยามีสิทธิเลือกจะแยกยื่น แบบแสดงรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีได้เฉพาะเงินได้ประเภทเงินเดือนเท่านั้น โดยมิให้ถือว่า เป็นเงินได้ของสามี ส่วนเงินได้ประเภทเงินปันผลซึ่งเป็นเงินได้ของภริยา กฎหมายให้ถือว่าเป็นเงินได้ ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และรับผิดในการยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษี แต่อย่างไรก็ตามถ้าภริยา ประสงค์จะนำเงินได้ประเภทเงินปันผลไปแยกยื่นต่างหากจากสามีก็ให้ทำได้ โดยแจ้งต่อพนักงานประเมิน ทราบภายในวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป และผลของการแยกยื่นนั้นจะต้องไม่ทำให้ภาษีที่ต้องเสีย เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด 3. การขอคืนภาษีอากรมาตรา 27 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร มีบัญญัติว่า "เว้น แต่จะมี บทบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น การขอคืนภาษีอากรและภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย และนำส่งแล้ว เป็นจำนวนเงิน เกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษีหรือที่ไม่มีหน้าที่ต้องเสีย ให้ผู้มีสิทธิขอคืนยื่นคำร้องขอคืนภายในสามปีนับแต่วัน สุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษีตามที่กฎหมายกำหนด เว้นแต่... ...และให้ผู้มีสิทธิขอคืนยื่นคำร้องขอคืน ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ผู้มีสิทธิขอคืนมี ภูมิลำเนา หรือ ณ สถานที่อื่นตามที่อธิบดีกำหนด" กรณีตามข้อเท็จจริง การขอคืนภาษีอากร ผู้มีสิทธิขอคืนมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนภายในสามปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการคือนับแต่วันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดจากปีที่มีเงินได้ |
เลขตู้ | : 61/27328 |