เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/16976
วันที่: 16 ธันวาคม 2541
เรื่อง: ภาษีธุรกิจเฉพาะ รายได้จากการให้กู้ยืมเงิน
ข้อกฎหมาย: มาตรา91/2 (5)
ข้อหารือ: บริษัทในประเทศไทยที่ไม่ใช่ธนาคาร หรือบริษัทเงินทุน มีนิติบุคคลต่างประเทศถือหุ้นเป็น
ส่วนใหญ่และเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม ประเภทให้เช่าซื้อทรัพย์สิน บริษัทลูกค้าในประเทศไทยขอ
กู้ยืมเงินจากบริษัท บริษัทขอความช่วยเหลือจากผู้ถือหุ้นในต่างประเทศให้ส่งเงินกู้ดังกล่าวให้ลูกค้ากู้ยืม
ผ่านบริษัทอีกทอดหนึ่ง โดยบริษัทจะต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับบริษัทในต่างประเทศและในทางเดียวกันก็
เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการให้กู้ยืมเงิน ซึ่งบริษัทถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่บริษัทต้องดำเนินการจัดหาเงินกู้ให้
กับผู้กู้อีกทอดหนึ่ง ทั้งนี้ ค่าธรรมเนียมการจัดหาเงินกู้ดังกล่าว บริษัทฯ จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใน
อัตราร้อยละ 2.5 ของเงินกู้ยืมแต่ละครั้งและการให้กู้ยืมเงินนี้เป็นการให้กู้ยืมเพียงรายเดียว มิได้ให้
บุคคลหรือนิติบุคคลอื่นใดกู้และมิได้เป็นกิจกรรมที่ทำเป็นปกติธุระ แต่การให้กู้รายนี้อาจให้กู้เกินกว่า 1
ครั้ง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ดีขึ้น และบริษัทจำเป็นต้องให้กู้เพื่อช่วยเหลือให้ผู้กู้ดำเนินธุรกิจ
ต่อไปได้ จึงขอทราบ ดังนี้
1. บริษัทต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะหรือไม่
2. บริษัทต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจากดอกเบี้ยรับในอัตราร้อยละ 3.3 ใช่หรือไม่
3. ค่าธรรมเนียมจากการจัดหาเงินให้กู้ ซึ่งมีลักษณะเป็นค่าธรรมเนียมจัดการจะถือเป็น
รายได้ประเภทค่าบริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ หากต้องเสีย
ภาษีธุรกิจเฉพาะจะเข้าลักษณะประเภทธุรกิจใด
แนววินิจฉัย: กรณีตามข้อเท็จจริง รายรับจากดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมในการจัดหาเงินกู้ ซึ่งถือเป็น
ดอกเบี้ยบริษัทจะต้องนำรายรับดังกล่าวมาเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ในประเภทการประกอบกิจการเยี่ยง
ธนาคารพาณิชย์ตามมาตรา 91/2 (5) แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตราร้อยละ 3.3 โดยที่การให้กู้ยืม
ดังกล่าวไม่ได้ทำเป็นปกติธุระหากแต่เป็นการประกอบการเป็นครั้งคราว จึงไม่ต้องจดทะเบียน
ภาษีธุรกิจเฉพาะแต่อย่างใด ทั้งนี้ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ เรื่อง
การกำหนดกิจการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2535
เลขตู้: 61/27341

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020