เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/พ.16979
วันที่: 16 ธันวาคม 2541
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการนำส่งภาษีขาย
ข้อกฎหมาย: มาตรา 3 อัฏฐ, มาตรา 78/3(1), มาตรา 83, กฎกระทรวงฯ ฉบับที่ 198 (พ.ศ. 2534)
ข้อหารือ: ลูกจ้างจัดเก็บและรับเงินของรัฐวิสาหกิจได้ถูกคนร้ายชิงทรัพย์เงินที่ออกไปเก็บจำนวน
150,939.61 บาท ในการจับกุมและดำเนินคดีกับคนร้ายปรากฏว่า ได้เงินคืนในการจับกุม 35,000
บาท คงเหลือ 115,939.61 บาท ศาลได้พิพากษาให้จำเลยชำระเงินคืน ขณะนี้อยู่ในชั้นบังคับคดีไม่อาจ
คาดหมายจำนวนที่จะได้รับเงินดังกล่าวคืนได้ รัฐวิสาหกิจเห็นว่ากรณีนี้เป็นเหตุสุดวิสัยมิใช่ความผิดของ
รัฐวิสาหกิจ จึงขอทราบว่า
1. การที่รัฐวิสาหกิจไม่ได้รับชำระเงินตามที่ศาลพิพากษา และยังไม่ได้นำเงินเป็นรายได้
รัฐวิสาหกิจจะต้องนำส่งภาษีขายด้วยหรือไม่ ถ้านำส่งจะคำนวณจากฐานใด
2. ระยะเวลาในการนำส่งกำหนดไว้อย่างไร และจะขอขยายเวลาได้หรือไม่เพียงใด
แนววินิจฉัย: 1. กรณีตาม 1. ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เกิดขึ้นเมื่อพนักงานของรัฐวิสาหกิจ
ได้รับชำระราคาค่าบริการหรือได้มีการออกใบกำกับภาษีก่อนได้รับชำระราคาค่าบริการแล้วแต่กรณี ทั้งนี้
โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้น ๆ ตามมาตรา 78/3 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกอบกับข้อ 1. ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 189 (พ.ศ. 2534) ทั้งนี้โดยใช้ราคาค่าบริการ (ไม่รวม
ภาษีมูลค่าเพิ่ม) ที่ได้รับชำระจากผู้ซื้อ เป็นฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
กรณีตาม 2. รัฐวิสาหกิจจะต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มภายในวันที่ 15
ของเดือนถัดจากเดือนภาษีนั้น ๆ ตามมาตรา 83 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร และกรณีที่มี
เหตุจำเป็นจนไม่สามารถจะปฏิบัติตามกำหนดเวลาได้ก็สามารถขอขยายเวลาต่ออธิบดีกรมสรรพากร
ออกไปได้ ตามมาตรา 3 อัฏฐ แห่งประมวลรัษฎากร
อนึ่งสำหรับกรณีเงินค่าบริการถูกคนร้ายชิงทรัพย์ไปนั้น เป็นเรื่องระหว่างรัฐวิสาหกิจกับผู้ชิง
ทรัพย์ที่จะต้องไปฟ้องร้องดำเนินคดีเพื่อเรียกค่าเสียหายจากคู่กรณี ซึ่งกรณีดังกล่าวไม่ทำให้ความรับผิดใน
การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของรัฐวิสาหกิจ เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด
เลขตู้: 61/27344

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020