เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/พ.17058
วันที่: 17 ธันวาคม 2541
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีสำรองจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม
ข้อกฎหมาย: มาตรา 77/2, มาตรา 82/4, มาตรา 86
ข้อหารือ: การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้รับค่าตอบแทนจากบริษัท ก. จำกัด ตามสัญญาสัมปทานระบบ
การขนส่งทางรถไฟและถนนยกระดับในกรุงเทพมหานครและการใช้ประโยชน์จากที่ดินของการรถไฟฯ ซึ่ง
สัญญาดังกล่าว บริษัท ก. ต้องจ่ายค่าตอบแทนสำหรับการได้รับสัมปทานฯ เป็นเงินและอาคารที่บริษัท ก.
สร้างบนที่ดินของการรถไฟฯ การรถไฟฯ จึงขอทราบว่า ค่าตอบแทนดังกล่าวอยู่ในบังคับต้องเสีย
ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ซึ่งกรมสรรพากรได้มีหนังสือ แจ้งว่า การจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าวเป็นการจ่าย
ค่าบริการซึ่งอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/1 (10) มาตรา 77/2 (1) และมาตรา
82/4 แห่งประมวลรัษฎากร
เมื่อการรถไฟฯ ได้รับแจ้งจากกรมสรรพากร การรถไฟฯ ได้จ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มและ
เงินเพิ่มแทนบริษัท ก. ไปก่อน และจะเรียกเก็บจากบริษัท ก. ภายหลัง การรถไฟฯ จึงขอทราบว่า
1. การรถไฟฯ ต้องออกใบกำกับภาษีให้บริษัท ก. หรือไม่
2. ถ้ากรณีตาม 2.1 การรถไฟฯ ต้องออกใบกำกับภาษีให้บริษัท ก. ซึ่งเป็นวันหลังจากวันที่
6 สิงหาคม 2540 การรถไฟฯ ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราเท่าใด
แนววินิจฉัย: เนื่องจากมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้ผู้ประกอบการเรียกเก็บ
ภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นและมาตรา
86 แห่งประมวลรัษฎากรกำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทำใบกำกับภาษีในทันทีที่ความรับผิดใน
การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น การรถไฟฯ จึงต้องจัดทำใบกำกับภาษีในทันทีที่ความรับผิดในการเสีย
ภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น แม้จะยังไม่ได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริษัท ก. ก็ตาม ในภายหลังเมื่อ
การรถไฟฯ ได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนที่การรถไฟฯ ยังไม่ได้รับจากบริษัท ก. แต่ได้สำรองจ่าย
แทนบริษัท ก. ไปก่อนแล้ว กรณีจึงมิใช่การขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร การรถไฟฯ จึงไม่ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริษัท ก.
และไม่ต้องออกใบกำกับภาษีให้แก่บริษัท ก. เมื่อได้รับเงินดังกล่าวแต่อย่างใด
เลขตู้: 61/27352

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020