เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/17583
วันที่: 30 ธันวาคม 2541
เรื่อง: ภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีฐานภาษีที่ใช้ในการคำนวณสำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัย
ข้อกฎหมาย: มาตรา 65
ข้อหารือ: 1. บริษัท ก. ใช้เกณฑ์เงินสดในการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งบริษัท ก. ได้รับเงินค่าขาย
จาก ปรส. เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2541 ตามรายละเอียดดังนี้
ราคาซื้อ 106.00 ล้านบาท
หัก จำนวนเงินหักครั้งที่ 1 (1.96) ล้านบาท
ราคาซื้อสุทธิ 104.04 ล้านบาท
หัก สำรองปรับปรุงเงินต้น (1.31) ล้านบาท
สำรองการชดใช้คืน (21.00) ล้านบาท
ค่าธรรมเนียมการขาย (1.06) ล้านบาท
ประมาณการค่าธรรมเนียมที่ปรึกษา (1.06) ล้านบาท
ยอดเงินจัดสรรสุทธิ 79.61 ล้านบาท
หมายเหตุ จำนวนเงินหักครั้งที่ 1 คือ จำนวนเงินต้นรับชำระโดยผู้ขาย (บริษัท ก.) ในช่วง 1
มิถุนายน - 31 สิงหาคม 2541 ดังนั้น องค์การฯ ขอหารือว่า
ก. จำนวนเงินรับชำระที่จะนำไปคำนวณเสียภาษีควรเลือกใช้จากจำนวนใด ระหว่าง
ข้อ 1.1, 1.2 หรือ 1.3
1.1 เงินรับชำระ = ราคาซื้อ = 106.00 ล้านบาท
1.2 เงินรับชำระ = ราคาซื้อสุทธิ = 104.04 ล้านบาท
1.3 เงินรับชำระ = ราคาซื้อ-สำรองปรับปรุงเงินต้น-สำรองการชดใช้คืน
= 106.00 - 1.31 - 21.00 = 83.69 ล้านบาท
ข. ถ้าเลือกใช้กรณี 1.2 ภายหลังเมื่อบริษัท ก. ได้รับชำระเงินสำรองปรับปรุง
เงินต้น, สำรองการชดใช้คืน และได้รับใบแจ้งหนี้ค่าธรรมเนียมที่ปรึกษาในเดือนใด จึงนำไปคำนวณเพื่อ
การเสียภาษีธุรกิจเฉพาะภายใน 15 วัน นับจากวันสิ้นเดือนที่ได้รับชำระ ใช่หรือไม่
2. เมื่อผู้ขายใช้เกณฑ์เงินสดในการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีรับชำระเงินจากผู้ซื้อจะต้อง
นำเงินที่ได้รับชำระมาเฉลี่ยตามสัดส่วนระหว่างจำนวนเงินต้นและดอกเบี้ยของลูกหนี้แต่ละราย แล้วนำ
ดอกเบี้ยที่เฉลี่ยได้ดังกล่าวมาเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในเดือนภาษีที่ได้รับชำระเงิน ดังนั้น บริษัท ก. ควร
เลือกใช้ ยอดเงินต้นและดอกเบี้ย ณ วันใด เป็นฐานในการเฉลี่ย ระหว่างวันปิดบัญชี (วันที่ 31 พ.ค.
2541) กับวันปิดการจำหน่าย (วันที่ 1 ต.ค. 2541) เนื่องจากดอกเบี้ยที่ต้องนำไปเสียภาษีแต่ละงวด
ระยะเวลาแตกต่างกัน
31 พ.ค. 2541 1 ต.ค. 2541
(ล้านบาท) (ล้านบาท)
เงินต้นคงค้าง 223.00 220.00
ดอกเบี้ยคงค้าง 9.00 11.00
% ดบ.ที่จะต้องนำมาเสียภาษี 3.88 4.76
เงินรับงวดแรกจาก ปรส. (กรณีเลือกข้อ 1.1) 106.00 106.00
ดบ.ที่จะต้องนำมาเสียภาษีตามสัดส่วน 4.11 5.05
3. กรณีตาม 2. ดอกเบี้ยคงค้างที่จะนำมาเฉลี่ยเพื่อคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะนั้น ต้องนำ
ดอกเบี้ยในส่วนที่บริษัท ก. ได้หยุดรับรู้ (memo interest) มารวมคำนวณด้วยหรือไม่ เนื่องจากมี
ลูกค้าบางรายที่บริษัทหยุดรับรู้รายได้เหตุเพราะค้างชำระหนี้เกิน 6 เดือน ซึ่งบริษัทจะบันทึกไว้เป็น
memo interest ในการ์ดลูกหนี้รายตัวแทนการบันทึกบัญชี
31 พ.ค. 2541 % ดอกเบี้ยที่ จำนวนดอกเบี้ย
เสียภาษี เสียภาษี
(ล้านบาท) (ล้านบาท)
เงินรับงวดแรกจาก (ปรส.) 106.00
(กรณีเลือกข้อ 1.1)
เงินต้นคงค้าง 223.00
ดอกเบี้ยคงค้าง 9.00 3.88 4.11
ดอกเบี้ยคงค้าง + memo- interest 11.61 4.95 5.25
4. ตามหนังสือกรมสรรพากร เรื่อง การขยายกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการชำระภาษี
หรือนำส่งภาษีในทุกประเภทภาษีในส่วนของกรมสรรพากร โดยขยายเวลานำส่งภาษีออกไปอีก 2 เดือน
นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีหรือนำส่งภาษี ดังนั้น กรณีภาษีธุรกิจเฉพาะ บริษัท
ก. สามารถยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีภายใน 15 มกราคม 2542 ใช่หรือไม่ หากบริษัท ก. ได้รับ
เงินจากการขายสินเชื่อที่อยู่อาศัย เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2541
แนววินิจฉัย: 1. กรณีตาม 1. จำนวนเงินรับชำระที่บริษัท ก. จะนำไปคำนวณเสียภาษีต้องใช้ราคาซื้อ
จำนวน 106.00 ล้านบาท ตาม 1.1 เนื่องจากถือเป็นเงินได้ที่บริษัท ก. ได้รับชำระทั้งสิ้น
2. กรณีตาม 2. การเฉลี่ยตามสัดส่วนระหว่างจำนวนเงินต้นและดอกเบี้ยของลูกหนี้แต่ละ
ราย บริษัท จ. จะต้องใช้ยอดเงินต้นและดอกเบี้ย ณ วันปิดการจำหน่าย (วันที่ 1 ตุลาคม 2541)
เนื่องจากถือเป็นวันที่ผู้ขายโอนบรรดาสิทธิทั้งหมดที่ตนมีตามสัญญาให้แก่ผู้ซื้อ
3. กรณีตาม 3. ดอกเบี้ยคงค้างที่จะนำมาเฉลี่ยเพื่อคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะตาม 2. นั้น
จะต้องนำดอกเบี้ยในส่วนที่บริษัท จะ ได้หยุดรับรู้รายได้ (memo interst) จนถึงวันปิดการจำหน่าย
มารวมคำนวณด้วย
4. กรณีตาม 4. หากบริษัท ก. ได้รับเงินจากการขายสินเชื่อที่อยู่อาศัยเมื่อวันที่ 5
ตุลาคม 2541 บริษัท ก. มีสิทธิยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีภายในวันที่ 15 มกราคม 2542
เลขตู้: 61/27376

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020