เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/พ.00342
วันที่: 15 มกราคม 2542
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขายสินค้าด้วยเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ
ข้อกฎหมาย: มาตรา 77/1(20), มาตรา 85/6, มาตรา 85/7, มาตรา 86/6, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.
4/2528 ฯ, ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 32) พ.ศ. 2535 ฯ,
กฎกระทรวง (ฉบับที่ 189) พ.ศ. 2534 ฯ
ข้อหารือ: บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ประเภทผลิต ขายส่ง ส่งออก อาหาร
สำเร็จรูป ขนมและเครื่องดื่ม และนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักร ต่อมาบริษัทฯ ได้นำเข้าเครื่องจำหน่าย
สินค้าอัตโนมัติ (เครื่องอัตโนมัติ) เพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทเครื่องดื่มและอาหารบรรจุกระป๋อง จึงขอ
ทราบว่า
1. การขายสินค้าโดยเครื่องอัตโนมัติถือเป็นการค้าปลีกหรือไม่ และบริษัทฯ จะต้อง
ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปหรืออย่างย่อ
2. บริษัทฯ จะต้องจัดทำใบกำกับภาษีในวันที่บริษัทฯ บรรจุสินค้าเข้าเครื่องอัตโนมัติ หรือ
วันที่นำเงินออกจากเครื่องอัตโนมัติ
3. บริษัทฯ จะต้องแจ้งเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.09) หรือไม่ อย่างไร
4. การนำเครื่องอัตโนมัติไปติดตั้งตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อจำหน่ายสินค้าจะต้องจดทะเบียน
เพิ่มสาขาหรือไม่
5. ในการติดตั้งเครื่องอัตโนมัติในสถานที่ต่าง ๆ บริษัทฯ ได้ตกลงจ่ายค่าตอบแทนให้กับ
เจ้าของสถานที่ “ผู้ให้อนุญาต” ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา บริษัทหรือนิติบุคคลอื่น ๆ หน่วยงานราชการ
โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในลักษณะของค่าเช่าเหมา หรือค่าไฟฟ้าเหมา หรือเปอร์เซนต์จาก
การขาย ขึ้นอยู่กับการตกลงว่าจะใช้รูปแบบใด บริษัทฯ จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราเท่าใด
แนววินิจฉัย: กรณีตามข้อเท็จจริง
1. การขายเครื่องดื่มและอาหารบรรจุกระป๋อง ที่บรรจุอยู่ในเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ
เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าที่ผู้ขายทราบโดยชัดแจ้งว่า เป็นการขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง และใน
ปริมาณซึ่งตามปกติวิสัยของผู้บริโภคโดยตรง และในปริมาณซึ่งตามปกติของผู้บริโภคนั้นจะนำสินค้าไป
บริโภคหรือใช้สอยโดยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อไป ถือเป็นกิจการค้าปลีกตามมาตรา 86/6
แห่งประมวลรัษฎากรประกอบกับข้อ 2 (1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ฉบับที่ 32)ฯ ลงวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2535 บริษัทฯ มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ตามมาตรา
86/6 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
2. การขายเครื่องดื่มและอาหารบรรจุกระป๋อง ที่บรรจุอยู่ในเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ
ดังกล่าว ไม่ว่าจะมีการชำระราคาโดยวิธีการหยอดเงิน เหรียญ บัตร หรือด้วยวิธีการในลักษณะทำนอง
เดียวกัน ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อได้นำเงิน เหรียญ บัตร หรือด้วยวิธีการ
ในลักษณะทำนองเดียวกันออกจากเครื่องอัตโนมัตินั้นตามข้อ 3 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 189 (พ.ศ.
2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มบางกรณี ลงวันที่
27 ธันวาคม พ.ศ. 2534 เมื่อบริษัทฯ ประกอบกิจการค้าปลีกดังกล่าว จึงมีสิทธิออกใบกำกับภาษี
อย่างย่อในขณะที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มบางกรณี ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2534 เมื่อ
บริษัทฯ ประกอบกิจการค้าปลีกดังกล่าว จึงมีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อในขณะที่ความรับผิดชอบในการ
เสียภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวเกิดขึ้นได้ตามมาตรา 86/6 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
3. เดิมบริษัทฯ ได้จดทะเบียนประเภทของสินค้าเพียง ผลิต ขายส่ง และส่งออกอาหาร
สำเร็จรูป ขนม และเครื่องดื่ม ต่อมาเมื่อบริษัทฯ ได้ประกอบกิจการค้าปลีกจึงถือเป็นการเปลี่ยนแปลง
รายการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในสาระสำคัญ บริษัทฯ จึงมีหน้าที่ต้องแจ้งเพิ่มประเภทของการ
ประกอบกิจการ “ขายปลีก” ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ภายในสิบห้าวันนับจากวันที่มีการ
เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตามมาตรา 85/6 แห่งประมวลรัษฎากร
4. การที่บริษัทฯ นำเครื่องอัตโนมัติไปติดตั้งตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อจำหน่ายสินค้า ถ้า
บริษัทฯ มิได้จัดให้มีพนักงานหรือบุคคลใดเป็นผู้ให้บริการขายสินค้าในเครื่องอัตโนมัติ กรณีไม่ถือว่าเครื่อง
อัตโนมัติดังกล่าวเป็นสถานประกอบการตามมาตรา 77/1 (20) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จึงไม่มี
หน้าที่แจ้งการเปิดสถานประกอบการที่ติดตั้งเครื่องอัตโนมัติเพิ่มเติมตามมาตรา 85/7 แห่ง
ประมวลรัษฎากร
5. การที่บริษัทฯ และผู้ให้อนุญาตทำสัญญาอนุญาตให้ติดตั้งเครื่องอัตโนมัติโดยที่ผู้ให้อนุญาต
ยังเป็นผู้ควบคุมดูแลพื้นที่ติดตั้งนั้น มิได้ส่งมอบการครอบครองพื้นที่ให้บริษัทฯ โดยเด็ดขาด ทั้งผู้ให้อนุญาตมี
หน้าที่จะต้องดูแลและรักษาเครื่องอัตโนมัติให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์เรียบร้อยพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา
และแจ้งให้บริษัทฯ ทราบเมื่อเครื่องอัตโนมัติชำรุดเสียหายหรือขัดข้องไม่สามารถใช้งานได้ สัญญาด้ง
กล่าวนั้นจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนประเภทหนึ่งซึ่งไม่ใช่สัญญาเช่าทรัพย์สินหรือสัญญาจ้างทำของ
ค่าตอบแทนตามสัญญาดังกล่าว จึงไม่ใช่ค่าเช่าทรัพย์สินและค่าจ้างทำของ เมื่อบริษัทฯ จ่ายเงิน
ค่าตอบแทนดังกล่าว จึงไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ ลงวันที่
26 กันยายน พ.ศ. 2528 แต่อย่างใด
เลขตู้: 62/27409

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020