เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/1502
วันที่: 17 กุมภาพันธ์ 2542
เรื่อง: ภาษีการค้า กรณีการดัดแปลงรถยนต์
ข้อกฎหมาย: มาตรา 77 ก่อนการแก้ไข พระราชบัญญัติ ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2540, พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517
ข้อหารือ: มหาวิทยาลัยของรัฐ ได้รับบริจาครถยนต์บรรทุก ยี่ห้อโตโยต้าไฮลักซ์ เครื่องยนต์ดีเซลตัว
ถังเป็นแบบ 2 ตอน 4 ประตู จำนวน 1 คัน จากอาจารย์และข้าราชการ มหาวิทยาลัย โดยรถยนต์ที่ได้
รับบริจาคอยู่ในสภาพที่ทำการปรับปรุงต่อตัวถังมาก่อนแล้ว แต่ยังไม่ได้ชำระภาษีการค้าสำหรับการ
ดัดแปลงรถยนต์มาก่อนมหาวิทยาลัยจึงขอยกเว้นภาษีการค้า (ภาษีโภคภัณฑ์รถยนต์) ดังกล่าว
แนววินิจฉัย: คณะบุคคลซึ่งประกอบด้วยอาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัย ได้จัดให้ผู้อื่นดัดแปลง
รถยนต์บรรทุกให้เป็นรถยนต์นั่ง 2 ตอน ซึ่งการประกอบการดัดแปลงรถยนต์ดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นการ
"ผลิต" ตามมาตรา 77 แห่งประมวลรัษฎากร ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 และโดยที่รถยนต์ซึ่งดัดแปลงสภาพดังกล่าวเข้าลักษณะ เป็น
สินค้าตามประเภทการค้า 1. ชนิด 4 แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า จึงถือว่าคณะบุคคลเป็นผู้ผลิตขายใน
ราชอาณาจักรต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 30 ของรายรับ ตามมาตรา 10 แห่งพระราชกฤษฎีกา
(ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 ส่วนมหาวิทยาลัย ไม่ได้เป็นผู้ทำหรือดัดแปลงหรือจัดให้ผู้อื่นทำหรือดัดแปลงสิ่ง
ใด ๆ ให้เข้าลักษณะเป็นรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคน มหาวิทยาลัยฯ จึงไม่มีหน้าที่
ต้องเสียภาษีการค้า แต่อย่างใด
อย่างไรก็ตามอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าภาษีอากรนั้นกฎหมายกำหนด
อายุความไว้ 10 ปี ตามมาตรา 193/31 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งตามข้อเท็จจริง
รถยนต์ดังกล่าวได้ทำการดัดแปลงและนำไปจดทะเบียนเป็นรถยนต์นั่ง 2 ตอน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530
การใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าภาษีอากรจากการดัดแปลงรถยนต์ดังกล่าวจึงขาดอายุความแล้ว
เลขตู้: 62/27521

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020