เลขที่หนังสือ | : กค 0811/พ.01936 |
วันที่ | : 26 กุมภาพันธ์ 2542 |
เรื่อง | : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการออกใบกำกับภาษี |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 78, มาตรา 79/1, มาตรา 80/1, มาตรา 86 |
ข้อหารือ | : บริษัทฯ ประกอบกิจการผลิตและส่งออกสินค้ารายได้ส่วนใหญ่เกิดจากการส่งออกสินค้าไป ต่างประเทศ เมื่อบริษัทฯ ได้รับใบสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าต่างประเทศโดยมีเงื่อนไขการชำระเงินโดยให้ ลูกค้าต่างประเทศจ่ายเงินมัดจำค่าสินค้าล่วงหน้า 50% ก่อนส่งมอบสินค้า และจ่ายเงินส่วนที่เหลืออีก 50% เมื่อส่งสินค้าลงเรือแล้ว การส่งเงินชำระค่าสินค้าทั้ง 2 กรณี ดังกล่าวข้างต้นลูกค้าต่างประเทศจะ ส่งผ่านธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย โดยโอนมาจากต่างประเทศ (T/T) บริษัทฯ เข้าใจว่า บริษัทฯ จะต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อได้รับเงินมัดจำและเมื่อส่งสินค้าลง เรือเรียบร้อยแล้วโดยเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 จึงขอทราบว่าความเข้าใจของบริษัทฯ ถูกต้องหรือไม่ |
แนววินิจฉัย | : 1. ตามมาตรา 78 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการขายสินค้าโดยส่งออก ให้ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อชำระอากรขาออก วางหลักประกันอากร ขาออก หรือจัดให้มีผู้ค้ำประกันอากรขาออก และตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการ จดทะเบียนมีหน้าที่ต้องจัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าและการให้บริการ ทุกครั้ง และต้องจัดทำในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น พร้อมทั้งส่งมอบใบกำกับภาษี นั้นแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ส่วนสำเนาใบกำกับภาษีให้เก็บรักษาไว้ 2. กรณีตามข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษี เมื่อ ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ตามมาตรา 78 (4) (ก) ประกอบกับมาตรา 86 แห่ง ประมวลรัษฎากร โดยบริษัทฯ มีสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 (1) แห่ง ประมวลรัษฎากร โดยใช้ราคา เอฟ.โอ.บี. ตามใบขนสินค้าเป็นฐานภาษีตามมาตรา 79/1 (1) แห่ง ประมวลรัษฎากร และบริษัทฯ ไม่มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อได้รับเงินมัดจำแต่อย่างใด |
เลขตู้ | : 62/27587 |