เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811(กม)/พ.314
วันที่: 2 มีนาคม 2542
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการโอนสิทธิบัตรภาษี
ข้อกฎหมาย: มาตรา 65
ข้อหารือ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก ประกอบกิจการส่งออกสินค้าประเภทแบตเตอรี่ โดยส่งไปจำหน่ายที่
ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จากการส่งออกสินค้าดังกล่าว ห้างฯ ได้รับเงินชดเชย
ค่าภาษีอากรจากกรมศุลกากรในรูปบัตรภาษีในปี พ.ศ. 2538 ห้างฯ ได้ทำคำร้องขอรับเงินชดเชยค่า
ภาษีอากรสำหรับสินค้าส่งออก จำนวน 10 ฉบับ เป็นเงิน 1,210,289.01 บาท โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน
ส่วนแรกจำนวน 6 ฉบับ เป็นเงิน 554,187.14 บาท ระบุชื่อห้างฯ เป็นผู้รับบัตรภาษี ส่วนที่สองจำนวน
4 ฉบับ เป็นเงิน 656,101.87 บาทห้างฯ ได้โอนสิทธิการรับบัตรภาษีส่วนนี้ให้แก่ บริษัท ข จำกัด
เนื่องจากมีข้อตกลงระหว่างห้างฯ กับบริษัทฯ ให้ห้างฯ เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า เมื่อกรมศุลกากรอนุมัติ
บัตรภาษีจำนวน 10 ฉบับ ดังกล่าว ห้างฯ จะต้องนำมูลค่าตามบัตรภาษีในส่วนแรกไปยื่นรายการใน
แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล ภ.ง.ด.50 ปี พ.ศ.2538 เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในนาม
ของห้างฯ บัตรภาษีในส่วนที่สองห้างฯ เห็นว่า เมื่อโอนสิทธิในบัตรภาษีไปยังบริษัทฯ แล้ว ควรจะให้
บริษัทฯ เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในส่วนนี้ ห้างฯ จึงขอทราบว่าความเห็นดังกล่าวถูกต้อง
หรือไม่
แนววินิจฉัย: ห้างฯ ต้องคำนวณรายได้และรายจ่ายตามหลักเกณฑ์สิทธิ เมื่อห้างฯ ได้รับบัตรภาษีไม่ว่า
ห้างฯ จะใช้บัตรภาษีเองหรือโอนสิทธิในการรับบัตรภาษีให้บุคคลอื่น มูลค่าเงินชดเชยค่าภาษีอากรตาม
บัตรภาษีทั้งสองส่วนถือเป็นรายได้ของห้างฯ ห้างฯ ต้องนำรายได้ตามมูลค่าของบัตรภาษีไปเสีย
ภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 62/27607

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020