เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/02176
วันที่: 8 มีนาคม 2542
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินค่าชดเชยเพราะเหตุออกจากงาน
ข้อกฎหมาย: กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ฯ
ข้อหารือ: บริษัทฯ มีนโยบายลดค่าใช้จ่ายและลดจำนวนพนักงานเพื่อความเหมาะสมและความจำเป็น
ของบริษัทฯ บริษัทฯ จึงได้ดำเนินการลดพนักงานตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2541 โดยความสมัครใจของ
พนักงานเพื่อให้เกิดความกดดันกับพนักงานส่วนใหญ่น้อยที่สุดในการเลิกจ้าง ซึ่งมีพนักงานจำนวนหนึ่งทั้งที่
ไม่สมัครใจลาออก แต่ด้วยการตัดสินใจในสถานการณ์ดังกล่าว จึงยื่นใบลาออกจากการเป็นพนักงาน โดย
ได้รับผลประโยชน์มากกว่าที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานเรื่องการจ่ายค่าชดเชยกำหนดไว้บริษัทฯ ขอทราบ
ว่า กรณีพนักงานไม่สมัครใจลาออกแต่ได้มีการยื่นใบลาออกจากการเป็นพนักงาน (โดยสมัครใจลาออก)
จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินค่าชดเชยด้วยหรือไม่ หากได้รับยกเว้นจะต้องใช้เอกสารอะไร
ประกอบการยื่นแบบขอยกเว้นภาษี
แนววินิจฉัย: กรณีตามข้อเท็จจริง เงินที่บรรดาพนักงานได้รับจากบริษัทฯ เพราะเหตุออกจากงานไม่เข้า
ลักษณะเป็นค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน จึงไม่ได้รับยกเว้น
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตาม (51) ของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวงฯ ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ลงวันที่
23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฯ ฉบับที่ 217 (พ.ศ. 2542) ลงวันที่ 13
มกราคม พ.ศ. 2542 ดังนั้น เงินได้ดังกล่าวจึงต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เลขตู้: 62/27618

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020