เลขที่หนังสือ | : กค 0811/02286 |
วันที่ | : 11 มีนาคม 2542 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้ที่นายจ้างให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานซึ่งได้รับในปีภาษีถัดไป |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 3 อัฏฐ, มาตรา 48, มาตรา 50, ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)ฯ |
ข้อหารือ | : นาย ก เป็นพนักงาน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ข จำกัด เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2540 บริษัทฯ ได้เลิกจ้างพนักงานทั้งหมดของบริษัทฯ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2540 เป็นต้นไป โดยได้จ่าย เงินชดเชยการเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงานให้กับพนักงานทุกคนภายในปี 2540 โดยครบถ้วน การ เลิกจ้างดังกล่าวจึงมีผลให้เป็นการสิ้นสุดสมาชิกภาพกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของพนักงานด้วย บริษัทเงินทุน หลักทรัพย์ ข จำกัด ซึ่งเป็นผู้บริหารกองทุนดังกล่าวจึงดำเนินการเลิกกองทุนเพื่อนำเงินจ่ายคืนให้กับ พนักงานที่เป็นสมาชิกทุกคน แต่การดำเนินการดังกล่าวไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2540 อันเป็นปีที่เลิกจ้างได้ทัน การดำเนินการคืนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้กับพนักงานทั้งหมดดำเนินการ แล้วเสร็จในวันที่ 15 มกราคม 2541 มีผลให้ผู้มีเงินได้ที่มีอายุงานเกินกว่า 5 ปี ไม่สามารถนำ เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้รับไปรวมกับเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานที่ได้รับแล้วในปี 2540 โดย ถือเป็นเงินได้เนื่องจากออกจากงานในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2540 ซึ่งมีวิธีคำนวณค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้เนื่องจากออกจากงานตามวิธีเฉพาะสำหรับผู้มีอายุงานเกิน 5 ปี ได้ จึงพิจารณาอนุมัตินำเงินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2541 เป็นเงินได้เนื่องจากออกจากงานและเป็นเงินได้ของปีภาษี 2540 โดยให้ยื่นเพิ่มเติมแบบแสดงรายการ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2540 ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2542 นี้ และของดและลดเบี้ยปรับ เงินเพิ่มทั้งหมดหรือบางส่วน การที่ได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่ทันในปีที่ถูกเลิกจ้างนั้น สาเหตุ เนื่องจากการเลิกกองทุนฯ มีขั้นตอนการดำเนินการต้องปฏิบัติตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด อีกทั้งผู้บริหาร กองทุนก็เป็นนิติบุคคลอื่นซึ่งมิใช่นายจ้าง ต้องดำเนินการรวบรวมทรัพย์สินของกองทุนเพื่อจำหน่ายและ ไถ่ถอนเงินจากหลักทรัพย์ที่กองทุนได้ลงทุนไว้เพื่อนำเงินทั้งหมดมาเฉลี่ยจ่ายคืนพนักงานที่เป็นสมาชิก ทั้งหมด การล่าช้าจึงไม่ได้เกิดจากความผิดของพนักงานผู้มีเงินได้ หากต้องนำเงินได้จาก กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้รับนี้รวมคำนวณเป็นเงินได้ของปีภาษี 2541 ก็จะทำให้พนักงานที่ได้ทำงานเกิน 5 ปี ต้องรับภาระภาษีมากขึ้นเพราะไม่สามารถคำนวณหักค่าใช้จ่ายตามวิธีเฉพาะของเงินได้เนื่องจาก ออกจากงานได้ ทำให้มีความเดือดร้อนในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน |
แนววินิจฉัย | : เงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ซึ่งพนักงานหรือลูกจ้างได้รับโดย มีสิทธิเลือกที่จะนำไปรวมกับเงินได้อื่นที่ได้รับในปีภาษีนั้นหรือไม่ก็ได้ ตามมาตรา 48 (5) แห่ง ประมวลรัษฎากร โดยมีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นกรณีพิเศษตามมาตรา 50 (1) วรรคสามและวรรคสี่ แห่ง ประมวลรัษฎากร ประกอบกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ เรื่องภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)ฯ ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2535 นั้น จะต้องเป็นกรณีที่พนักงานหรือ ลูกจ้างได้รับเงินได้เนื่องจากการออกจากงานไม่ว่าจะได้รับเงินได้ดังกล่าว ประเภทเดียวหรือหลาย ประเภท เงินได้เฉพาะจำนวนที่ได้รับในปีภาษีแรกที่มีการจ่ายเงินได้นั้นจริงเท่านั้นที่มีสิทธิเลือกตาม มาตรา 48 (5) แห่งประมวลรัษฎากร เงินได้จำนวนต่อมาที่จ่ายให้พนักงานต่างปีภาษีหรือปีภาษีถัดไป โดยมิใช่ปีภาษีแรกที่มีการจ่ายเงินได้ พนักงานหรือลูกจ้างไม่มีสิทธิเลือกตามมาตรา 48 (5) แห่ง ประมวลรัษฎากร โดยต้องคำนวณหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 40 แต่ต้องไม่เกิน 60,000 บาท กรณีตามข้อเท็จจริง นาย ก ออกจากงานในวันที่ 1 ธันวาคม 2540 ในการออกจากงาน ครั้งนี้นาย ก ได้รับเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน 2 ประเภทคือ 1. เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน จำนวน 249,742 บาท ได้รับในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2540 โดยหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ระบุลงวันที่ 31 ธันวาคม 2540 2. เงินที่จ่ายจากกองทุน ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จำนวน 378,361.87 บาท ได้รับในวันที่ 15 มกราคม 2541 โดยหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ระบุลงวันที่ 15 มกราคม 2541 ในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2540 นาย ก ได้นำเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน จำนวน 249,742 บาท ซึ่งเป็น เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน จำนวนนี้เพียงจำนวนเดียวที่ได้รับในปีภาษี 2540 (ปีภาษีแรกที่มีการ จ่ายเงินได้) มาเลือกเสียภาษีตามมาตรา 48 (5) แห่งประมวลรัษฎากร ถือเป็นการเลือกคำนวณภาษี โดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ส่วนเงินได้ที่นาย ก ได้รับ เนื่องจากออกจากงานอีกจำนวนหนึ่งคือ เงิน ที่จ่ายจากกองทุนตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำนวน 378,361.87 บาท ที่ นาย ก ได้รับ ในปีภาษี 2541 ซึ่งเป็นปีภาษีถัดไป เงินจำนวนนี้ไม่เข้าลักษณะเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะ เหตุออกจากงาน ฉะนั้น ในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2541 นาย ก จะใช้สิทธิเลือกเสียตามมาตรา 48 (5) แห่งประมวลรัษฎากรอีกไม่ได้ โดยมีสิทธิหัก ค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ในอัตราร้อยละ 40 แต่ต้องไม่เกิน 60,000 บาท ตามมาตรา 48 (1) แห่ง ประมวลรัษฎากร สำหรับประเด็นที่ขอให้อนุมัติให้ถือว่าเงินได้ที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้รับในปี 2541 เป็นเงินได้ของปี 2540 นั้น ไม่อาจอนุมัติให้ได้ เนื่องจากไม่มีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถปฏิบัติตาม กำหนดเวลาได้ตามมาตรา 3 อัฏฐ แห่งประมวลรัษฎากร กรณีงดหรือลดเบี้ยปรับเงินเพิ่ม จึงไม่มี ประเด็นที่จะต้องพิจารณา |
เลขตู้ | : 62/27631 |