เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/02288
วันที่: 11 มีนาคม 2542
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการเลือกเสียภาษีสำหรับเงินภาษีที่นายจ้างออกให้ ซึ่งคำนวณจากเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน
ข้อกฎหมาย: มาตรา 48, มาตรา 50, ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)ฯ
ข้อหารือ: องค์การค้าฯ มีนโยบายออกภาษีเงินได้ให้กับพนักงานที่ออกจากงาน เนื่องจากเกษียณอายุ
หรือลาออกตามโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด จึงนำภาษีที่ออกให้ไปรวมเป็นเงินได้พึงประเมินของ
พนักงานที่ออกจากงานนั้น เพื่อคำนวณหาจำนวนค่าใช้จ่ายตามมาตรา 48 (5) แห่งประมวลรัษฎากร
องค์การค้าฯ ได้จ่ายเงินให้กับพนักงานและคำนวณภาษีตามมาตรา 48 (5) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้
1. กรณีพนักงานที่เกษียณอายุ
1.1 เงินบำเหน็จที่คำนวณแบบข้าราชการ
1.2 ภาษีออกให้
โดยนำภาษีออกให้รวมเป็นฐานภาษีในการคำนวณหาจำนวนค่าใช้จ่ายตามข้อ 3 (1)
ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)ฯ ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2535
2. กรณีพนักงานที่ลาออกตามโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด
2.1 เงินบำเหน็จที่คำนวณแบบข้าราชการ
2.2 เงินเพิ่มพิเศษคำนวณตามหลักเกณฑ์ขององค์การค้าฯ
2.3 ภาษีออกให้
โดยนำภาษีออกให้รวมเป็นฐานภาษีในการคำนวณหาจำนวนค่าใช้จ่ายตามข้อ 3 (3)
ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)ฯ ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2535
จึงขอทราบว่าการคำนวณภาษีดังกล่าวถูกต้องหรือไม่
แนววินิจฉัย: 1. เงินบำเหน็จที่คำนวณแบบข้าราชการ เนื่องจากไม่มีหน่วยงานใดที่ใช้วิธีการคำนวณ
บำเหน็จตามหลักเกณฑ์ และวิธีการเช่นเดียวกับวิธีการคำนวณบำเหน็จตามกฎหมาย ว่าด้วยบำเหน็จ
บำนาญข้าราชการได้ทั้งหมด จึงถือว่าเงินบำเหน็จดังกล่าวเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุ
ออกจากงานมีวิธีการคำนวณแตกต่างไปจากวิธีการตามข้อ 1 (ก) จึงถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามข้อ 1
(ง) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)ฯ ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.
2535
2. เงินเพิ่มพิเศษคำนวณตามหลักเกณฑ์ขององค์การค้าฯ และเงินภาษีออกให้ที่ถือเป็นเงินที่
คำนวณได้จากเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน เนื่องจากเงินดังกล่าวมิได้เป็นเงิน
ที่คำนวณตามหลักเกณฑ์และวิธีการเช่นเดียวกับวิธีการคำนวณบำเหน็จตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญ
ข้าราชการหรือเงินที่จ่ายจากกองทุนตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือเงินชดเชยตาม
กฎหมายแรงงาน จึงถือเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ตามข้อ 1 (ง) ของ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)ฯ ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2535
3. ดังนั้น พนักงานผู้มีเงินได้พึงประเมินจะเลือกเสียภาษีตามมาตรา 48 (5) แห่ง
ประมวลรัษฎากรและองค์การค้าฯ ผู้จ่ายเงินได้ดังกล่าวจะคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1)
วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามข้อ 2 ข้อ 3 (2) และ (4)
และข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)ฯ ลงวันที่ 24 กันยายน
พ.ศ.2535 มิใช่คำนวณตามข้อ 3 (1) หรือข้อ 3 (3) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ
ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)ฯ ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2535 แต่อย่างใด
เลขตู้: 62/27633

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020