เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/พ.02942
วันที่: 30 มีนาคม 2542
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการคำนวณค่าเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์
ข้อกฎหมาย: มาตรา 82/4
ข้อหารือ: นาง ก ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โฟล์คสวาเกน รุ่นทรานสปอร์ตเตอร์ 1 คัน จากบริษัท
เงินทุนหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด ตามสัญญาเช่าซื้อฯ ลงวันที่ 5 มีนาคม 2536 ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว
คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าเช่าซื้อ ดังนี้
ราคาเงินสดของรถยนต์ 650,000 บาท
หัก เงินที่ผู้เช่าซื้อชำระครั้งแรก (เงินดาวน์) 50,000 (บวก VAT 3,500 บาท) บาท
คงเหลือเงินที่ต้องชำระถ้าซื้อเป็นเงินสด 600,000 บาท
บวก ค่าธรรมเนียมเช่าซื้อ 11% ต่อปี เป็นเวลา 24 เดือน
[(600,000) x (11%) x 24)]132,000 บาท
ราคาเช่าซื้อทั้งหมด 732,000 บาท
หาร ระยะเวลาเช่าซื้อ 24 เดือน
ค่าเช่าซื้อที่ต้องชำระเป็นรายเดือน ๆ ละ 30,000 (บวก VAT 2,135 บาท) บาท
ต้องชำระทุกวันที่ 5 = 32,635 บาท ต่อเดือน ของเดือนปฏิทิน งวดแรกชำระวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.
2536 ซึ่งนาย ก มีความเห็นว่า การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ "ราคาเงินสด
ของรถยนต์ 650,000 บาท" หรือ "เงินที่ต้องชำระถ้าซื้อเป็นเงินสด 600,000 บาท" กรณีมีการผ่อน
ชำระตามสัญญาเช่าซื้อฯ บริษัทฯ ได้บวกค่าธรรมเนียมเช่าซื้อ ตามระยะเวลาแล้วคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม
จากยอดเงินทั้งหมด เป็นเหตุให้จำนวนค่าเช่าซื้อที่ต้องชำระเป็นรายเดือนมีจำนวนสูงกว่าความเป็น
จริง เนื่องจากบริษัทฯ ไม่ได้ถอดภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บจากเงินที่ต้องชำระเป็นเงินสดออกก่อน
ซึ่งบริษัทฯ ชี้แจงตามหนังสือลงวันที่ 27 มกราคม 2542 ว่า กรณีนาง ก บริษัทฯ ได้ซื้อรถยนต์จาก
นาย ข ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม การขายรถยนต์ของนาย ข จึงไม่สามารถคิดภาษีมูลค่า
เพิ่มได้ และไม่สามารถออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มให้บริษัทฯ ได้ ดังนั้น บริษัทฯ จึงไม่สามารถ
ขอคืนภาษีซื้อได้ กรณีนาง ก ทำสัญญาเช่าซื้อจำนวน 600,000 บาท จึงไม่สามารถแยกจำนวน
ภาษีมูลค่าเพิ่มได้
จึงขอทราบว่า
1. การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ฯ ดังกล่าวถูกต้องหรือไม่
2. คำชี้แจงของบริษัทฯ ถูกต้องหรือไม่
แนววินิจฉัย: 1. การขายสินค้าหรือให้บริการของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผู้ประกอบการฯ
มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ โดยวิธีแยกภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากราคาสินค้า
หรือราคาค่าบริการ หรือโดยวิธีรวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการก็ได้ ทั้งนี้ ตาม
มาตรา 82/4 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ผู้ให้เช่าซื้อ จึงมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
จากนาง ก ได้ตามข้อตกลงทางการค้า
2. คำชี้แจงของบริษัทฯ ที่ว่าซื้อรถยนต์มาจากผู้ใด บริษัทฯ มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อได้หรือไม่
และบริษัทฯ ไม่สามารถแยกจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ นั้น เป็นการชี้แจงตามกรอบของกฎหมายแล้ว
เลขตู้: 62/27711

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020