เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/03192
วันที่: 7 เมษายน 2542
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีขอคืนภาษีและใช้สิทธิยื่นชำระภาษีล่วงหน้าโดยยื่นเสียภาษีปกติรายปี
ข้อกฎหมาย: มาตรา 40, คำสั่งกรมสรรพากร ป.1/2526 ฯ
ข้อหารือ: นาย ก (ผู้ให้เช่า) ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินกับ บริษัท ข จำกัด (ผู้เช่า) เช่าที่ดิน เป็น
จำนวนเงินทั้งสิ้น 112,800,000 บาท โดยผู้เช่าจะจ่ายค่าเช่าล่วงหน้าเป็นงวด ตั้งแต่ปี 2540 ถึง
2544 และนาย ก (ผู้ให้เช่า)ได้รับเงินค่าเช่าล่วงหน้าในปี 2540 มาแล้วจำนวน 81,080,000 บาท
มีภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้จำนวน 4,054,000 บาท
นาย ก มีความประสงค์จะขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่ายจำนวนดังกล่าว และค่าเช่าล่วงหน้าที่ได้
รับจากผู้เช่าจะขอยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีตามปกติรายปี โดยใช้ที่ดินโฉนดเลขที่ที่ให้บริษัทฯ เช่า
เป็นการค้ำประกันโดยความยินยอมของผู้เช่า ได้หรือไม่
แนววินิจฉัย: กรณีตามข้อเท็จจริงดังกล่าวในเรื่องของเงินได้ที่ได้รับล่วงหน้านั้นผู้ให้เช่ามีสิทธินำมาเฉลี่ย
เป็นรายปีตามอายุของสัญญาได้ สำหรับเงินภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้ นั้น กรมฯ ได้วางหลักเกณฑ์ให้นำมา
เครดิตออกจากภาษีที่ต้องเสียในปีแรกของการยื่นแบบแสดงรายการและหากจำนวนภาษีมีมากกว่าภาษีที่
ต้องชำระ ก็ให้ขอคืนในส่วนที่เกินนั้น และในการยื่นแบบแสดงรายการอาจปฏิบัติได้ดังนี้
(1) ยื่นแบบแสดงรายการ และชำระภาษีเงินได้จากค่าเช่าที่รับล่วงหน้าโดยเฉลี่ยเป็น
รายปีตามจำนวนปีของอายุการเช่าเป็นการล่วงหน้าให้เสร็จสิ้นไปในคราวเดียวกับการยื่นรายการเงินได้
ของปีแรกหรือในปีที่รับค่าเช่าล่วงหน้านั้น สำหรับเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้นำมาเครดิตออกจากภาษีที่ต้อง
เสียสำหรับปีแรกที่ได้รับเงินนั้นหากภาษีหัก ณ ที่จ่ายมีจำนวนมากกว่าภาษีที่ต้องชำระผู้ให้เช่ามีสิทธิขอคืน
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายในส่วนที่เกินได้ หรือ
(2) ยื่นแบบแสดงรายการเงินได้ เมื่อถึงกำหนดยื่นแบบแสดงรายการในแต่ละปีก็ได้ แต่
ต้องทำการประกันด้วยหลักประกันที่เชื่อถือได้ เพื่อเป็นการประกันการชำระภาษีเงินได้สำหรับเงินค่าเช่า
ที่รับล่วงหน้าดังกล่าว สำหรับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ให้นำมาใช้เป็นเครดิตภาษีที่ต้องเสียสำหรับปีแรกที่
ได้รับเงินนั้น หากภาษีหัก ณ ที่จ่าย มีจำนวนมากกว่าภาษีที่ต้องชำระ ผู้ให้เช่ามีสิทธิขอคืนภาษีเงินได้หัก
ณ ที่จ่ายในส่วนที่เกินได้
เลขตู้: 62/27738

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020