เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/พ.03194
วันที่: 7 เมษายน 2542
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการออกใบลดหนี้สำหรับการจำหน่ายสินเชื่อเช่าซื้อ
ข้อกฎหมาย: มาตรา 82/10, มาตรา 86/10, คำสั่งกรมสรรพากร ป.80/2542 ฯ
ข้อหารือ: จากคำชี้แจงกรมสรรพากรถึงประเด็นภาษีมูลค่าเพิ่มจากการจำหน่ายสินเชื่อเช่าซื้อ ผู้โอน
จะต้องออกใบกำกับภาษีทุกครั้งที่ได้รับการชำระราคาพร้อมทั้งส่งมอบใบกำกับภาษีนั้นให้แก่ผู้รับโอน แต่
เนื่องจากกระบวนการชำระราคาจากการจำหน่ายสินเชื่อเช่าซื้อยังไม่เสร็จสิ้น ซึ่งมีสาเหตุมาจาก
การปรับปรุงราคาซื้อตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญาขาย ซึ่งจากข้อกำหนดในสัญญาขาย ผู้โอน (ผู้ขาย)
จะต้องนำจำนวนเงินต้นที่รับระหว่างวันปิดบัญชีและวันปิดการจำหน่ายไปหักจากราคาซื้อ เพื่อคำนวณเป็น
ราคาซื้อสุทธิ อย่างไรก็ตาม กรณีที่ผู้โอนได้รับเงินงวดจากผู้เช่าซื้อ แต่ยังติดค้างในบัญชีพักของผู้โอนใน
ช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งภายหลังวันปิดการจำหน่าย ผู้โอนสามารถระบุที่มาและสามารถออกใบเสร็จรับเงิน
ให้ผู้เช่าซื้อได้ เป็นผลให้ราคาซื้อสุทธิยังคงเคลื่อนไหวและเป็นเหตุให้ผู้โอนต้องมีการชำระราคาให้
ผู้รับโอน (ผู้ซื้อ) สำหรับส่วนของเงินต้นที่ระบุได้เพิ่มเติมดังกล่าว
ตัวอย่าง
เงินต้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ก. ราคาซื้อ 100.-) 10.-)
ข. จำนวนเงินต้นรับระหว่างปิดบัญชีวันปิดการจำหน่าย (40.-) (4.-)
ค. ราคาซื้อสุทธิ ครั้งที่ 1 60.-) 6.-)
ง. รายการบัญชีพักที่ระบุได้เพิ่มเติม (ส่วนเงินต้น) (5.-) (0.5)
จ. ราคาซื้อสุทธิครั้งที่ 2 55.-) 5.5)
จึงขอทราบว่า
1. หากผู้โอนได้ทำการชำระราคา (ง.) ไปยังผู้รับโอนงวดแรกเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม
2541 แต่มิได้มีการออกใบลดหนี้ให้แก่ผู้รับโอนและผู้โอนยังมิได้ใบเสร็จรับเงินจากผู้รับโอนเช่นกัน กรณี
ดังกล่าว ผู้โอนสามารถออกใบลดหนี้และผู้รับโอนสามารถออกใบเสร็จรับเงินในงวดถัดไป หรือรวมเป็น
งวดเดียวเมื่อการปรับปรุงราคาได้ทำครบถ้วนแล้วได้หรือไม่
2. ผู้โอนสามารถใช้สิทธิยื่นภาษีล่าช้าได้หรือไม่
3. ผู้โอนจะต้องนำใบลดหนี้ดังกล่าวข้างต้นไปลดยอดภาษีขายสำหรับเดือนภาษีใด
แนววินิจฉัย: 1. กรณีตาม 1. ผู้โอนได้ทำการชำระราคาตาม (ง) ไปยังผู้รับโอนงวดแรกเมื่อวันที่ 25
ธันวาคม 2541 ผู้โอนต้องออกใบลดหนี้ให้แก่ผู้รับโอนในเดือนภาษีที่มีเหตุการณ์ให้ออกใบลดหนี้เกิดขึ้นตาม
ข้อเท็จจริงได้แก่ เดือนธันวาคม 2541 เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจำเป็นไม่สามารถออกใบลดหนี้ได้ทันใน
เดือนภาษีที่มีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ก็ให้ออกใบลดหนี้ให้กับผู้รับโอนในเดือนภาษีถัดจากเดือนที่มี
เหตุการณ์เกิดขึ้น กรณีตามข้อเท็จจริง ได้แก่ เดือนภาษีมกราคม 2542 ผู้โอนจึงไม่สามารถออกใบลดหนี้
รวมเป็นงวดเดียวเมื่อการปรับปรุงราคาได้ทำครบถ้วนแล้วได้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกอบกับข้อ 3 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.80/2541 ฯ ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2542
2. กรณีตาม 2. ผู้โอน (ผู้ขาย) มีสิทธิยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีหรือนำส่ง
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่สถาบันการเงิน
ผู้โอนมีหน้าที่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีออกไปตามระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาตามมาตรา
3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
3. กรณีตาม 3. ผู้โอนจะต้องนำภาษีที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่ลดลงนั้นมา
หักออกจากภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ได้ออกใบลดหนี้ ตามมาตรา 82/10 และ 86/10 แห่ง
ประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 62/27739

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020