เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/05395
วันที่: 8 มิถุนายน 2542
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเรียกเก็บเงินประกันการเช่าและบริการ
ข้อกฎหมาย: คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.73/2541 ฯ, ท.ป.74/2541 ฯ
ข้อหารือ: บริษัทฯ ประกอบกิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์โดยจัดทำสัญญาเช่าระยะสั้น 3 ปี สัญญาเช่า
ระยะยาว 30 ปี สัญญาสิทธิการได้ใช้บริการอุปกรณ์สาธารณูปโภค และสัญญาบริการ บริษัทฯ ได้
เรียกเก็บเงินประกันสำหรับสัญญาเช่า สัญญาสิทธิการได้ใช้อุปกรณ์และสัญญาบริการเป็นเงิน 6 เท่าของ
ค่าเช่าและค่าบริการต่อเดือน นอกจากนี้บริษัทฯ ได้เรียกเก็บเงินประกันมิเตอร์น้ำเป็นเงิน 5,000 บาท
ต่อเครื่อง เงินประกันมิเตอร์ไฟเป็นเงิน 10,000 บาทต่อเครื่อง เงินประกันมิเตอร์โทรศัพท์เป็นเงิน
15,000 บาทต่อเครื่อง เงินประกันมิเตอร์แก๊สเป็นเงิน 25,000 บาทต่อเครื่อง ขอทราบว่า
1. เงินประกันสัญญาเช่า สัญญาสิทธิการได้ใช้อุปกรณ์ สัญญาบริการ ที่ลูกค้าชำระมา
ล่วงหน้า 30 ปี บริษัทฯ จะทยอยรับรู้เป็นรายได้ภายในระยะเวลา 30 ปี ได้หรือไม่
2. เงินประกันสัญญาเช่า 3 ปี จะเข้าเงื่อนไขตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.73/2541
เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการเรียกเก็บเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน
เงินมัดจำ หรือเงินจอง ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่
ป.74/2541 ฯ ลงวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2541
3. เงินประกันสัญญาสิทธิการได้ใช้อุปกรณ์ 3 ปี และเงินประกันสัญญาบริการ 3 ปี เมื่อ
บริษัทฯเรียกเก็บเงินประกันดังกล่าว บริษัทฯ ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยใช่หรือไม่ ลูกค้ามีสิทธิหัก
ภาษี ณ ที่จ่ายได้ หรือไม่ และบริษัทฯ ต้องนำมารวมเป็นรายได้เพื่อคำนวณส่งภาษีเงินได้ด้วย ใช่หรือไม่
4. หากบริษัทฯ คืนเงินประกันดังกล่าวให้กับลูกค้า บริษัทฯ จะต้องบันทึกเป็นรายจ่าย
ใช่หรือไม่
5. เงินประกันมิเตอร์ดังกล่าว บริษัทฯ ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ใช่หรือไม่ โดยลูกค้า
มีสิทธิหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ หรือไม่ และบริษัทฯ ต้องถือเป็นรายได้ด้วย หรือไม่
แนววินิจฉัย: 1. กรณีการให้บริการที่ได้มีการเรียกเก็บเงินประกันตามสัญญา และต่อมา ได้มีการคืนเงิน
ประกันให้กับผู้รับบริการ ภาระภาษีสำหรับเงินประกันดังกล่าว บริษัทฯ สามารถถือปฏิบัติได้ตาม
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.73/2541 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการ
เรียกเก็บเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจำ หรือเงินจอง ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ซึ่ง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.74/2541 ฯ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2541
2. กรณีดังต่อไปนี้ไม่ถือเป็นเงินก้อนที่จะต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้
ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.73/2541 ฯ ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.74/2541 ฯ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2541
(ก) โดยขนบธรรมเนียม
ประเพณีทางธุรกิจได้มีการเรียกเก็บเงินประกันหรือเงินมัดจำ
(ข) ต้องมีการคืนเงินประกัน หรือเงินมัดจำให้แก่ผู้เช่าหรือผู้รับบริการทันทีที่สัญญา
สิ้นสุดลงโดยไม่มีเงื่อนไข แต่กรณีเกิดความเสียหาย ผู้ให้เช่าหรือผู้ให้บริการมีสิทธิหักกลบลบหนี้ได้
(ค) เงินประกัน หรือเงินมัดจำที่เรียกเก็บต้องไม่เกิน 6 เท่า ของค่าเช่าหรือ
ค่าบริการรายเดือนและ
(ง) สัญญาการให้เช่าทรัพย์สินหรือการให้บริการมีอายุสัญญาไม่เกิน 3 ปีดังนั้น กรณี
เงินประกันการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ หรือการให้บริการอื่น ถ้ามีการเรียกเก็บตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ก็
จะไม่ถือเป็นเงินก้อน จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ และไม่ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด
เลขตู้: 62/27899

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020