เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/06988
วันที่: 16 กรกฎาคม 2542
เรื่อง: ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ กรณีการขอคืนภาษีอันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ข้อกฎหมาย: พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 325) พ.ศ. 2541
ข้อหารือ: ธนาคารฯ ได้ทำการรับโอนอสังหาริมทรัพย์เพื่อชำระหนี้ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม
2541 ถึงเดือนกันยายน 2541 จำนวน 4 ราย ซึ่งเป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ของ
ธนาคารแห่งประเทศไทย และได้ชำระค่าอากรและภาษีเงินได้ ต่อสำนักงานที่ดินในวันจดทะเบียนรับโอน
กรรมสิทธิ์ รวมทั้งภาษีธุรกิจเฉพาะต่อกรมสรรพากรแล้ว ซึ่งลูกหนี้ผู้โอนเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี และได้เสีย
ภาษีดังกล่าวตามหลักฐานใบเสร็จของกรมที่ดิน และใบเสร็จของกรมสรรพากรแล้ว โดยธนาคารตกลงรับ
ภาระเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายดังกล่าว
ธนาคารฯ จึงมีความประสงค์จะขอรับเงินตามที่ชำระไว้แล้วเป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น
10,955,000.98 บาท ตามที่ได้รับยกเว้นตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
แนววินิจฉัย: หากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ระหว่างธนาคารฯ กับลูกหนี้ของธนาคารดังกล่าว ได้
ดำเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศกำหนด การโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ให้แก่ธนาคารฯ อันสืบเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ดังกล่าว ได้รับยกเว้นภาษีตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 325) พ.ศ. 2541 ดังนั้น การที่ลูกหนี้ผู้โอน
ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีสำหรับการโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ธนาคารฯ ได้เสียภาษีไปแล้ว ลูกหนี้ผู้โอนซึ่ง
เป็นผู้เสียประโยชน์จึงเป็นผู้มีสิทธิขอคืนภาษี ธนาคารฯ จึงไม่อาจขอคืนภาษีดังกล่าวได้
แต่อย่างไรก็ดี หากธนาคารฯ มีความประสงค์จะขอคืนต้องให้ลูกหนี้ของธนาคารฯ ทำ
หนังสือมอบอำนาจให้ธนาคารฯ ขอคืนแทนในนามของลูกหนี้ของธนาคารฯ ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิขอคืน
อนึ่ง ในการยื่นคำร้องขอคืนภาษี จะต้องยื่นด้วยแบบคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร (แบบ
ค.10) โดยให้ยื่นคำร้อง ณ สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ที่ผู้ขอคืนมีภูมิลำเนาในพื้นที่นั้น
เลขตู้: 62/28034

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020