เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/พ.07673
วันที่: 30 กรกฎาคม 2542
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขอคืนภาษีซื้อสำหรับโครงการที่ไม่ได้รับการประมูล
ข้อกฎหมาย: มาตรา 65 ตรี, มาตรา 82/5, ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 17)ฯ
ข้อหารือ: บริษัทฯ ประกอบกิจการส่งออกขายส่งแก๊ส น้ำมันเชื้อเพลิง และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ซึ่ง
บริษัทฯ มีรายได้จากการส่งออกถึงเดือนมิถุนายน 2539 หลังจากนั้นบริษัทฯ ได้รับค่านายหน้าจากการ
ส่งออกถังแก๊สให้กับบริษัทฯ ในต่างประเทศ และบริษัทฯ มีใบกำกับภาษีค่าวิเคราะห์วิจัย จำนวน
2,152,627.94 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 850,683.96 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 13,003,311.90
บาท
สพท. ได้ตรวจปฏิบัติการทั่วไป ปรากฏว่า ตั้งแต่เดือนกันยายน-ปัจจุบัน บริษัทฯ ไม่มี
รายรับในเดือนสิงหาคม 2540 บริษัทฯ มีภาษีซื้อค่าวิเคราะห์วิจัย ซึ่งบริษัทฯ ได้ให้บริษัท ข จำกัด เป็น
ผู้ดำเนินการวิจัยด้านค่าใช้จ่ายศึกษาข้อมูลวัตถุดิบต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการประมูลงานโครงการ
ผลิตกระแสไฟฟ้าอิสระกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งในการประมูลงานนี้บริษัทฯ ได้ร่วมกับอีก
3 บริษัท คือ บริษัทค จำกัด บริษัท ง จำกัด (มหาชน) และบริษัท จ จำกัด ประมูลงานโดยมิได้ทำ
สัญญาเข้าร่วมกัน แต่ตกลงด้วยวาจาว่าจะร่างสัญญาเมื่อการประมูลงานใกล้เสร็จสิ้น ในการนี้ทั้ง 4
บริษัทได้ร่วมกันซื้อที่ดิน 150 ไร่ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อใช้เป็นโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่ง
เป็นเงื่อนไขหนึ่งของผู้ประมูลงานที่ต้องมีที่ดินเพื่อใช้ตั้งเป็นโรงงานตอนเสนอประมูลงาน ต่อมาบริษัทฯ
ได้รับหนังสือที่ EGAT 03100/19011(290) ลงวันที่ 17 เมษายน 2539 จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแจ้งว่า
บริษัทฯ ประมูลงานไม่ได้ในส่วนค่าวิเคราะห์วิจัยบริษัทฯ ไม่ได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัท ข จำกัด ค่าใช้จ่าย
ดังกล่าวไม่รวมกับที่บริษัท ข จำกัด ได้เรียกเก็บจากอีก 3 บริษัท เมื่อบริษัททั้ง 4 ไม่ได้รับการประมูล
ผลการวิจัยก็ไม่สามารถที่จะนำไปใช้กับโครงการอื่นได้อีก ขอทราบว่า การที่บริษัทฯ ประมูลงาน
โครงการดังกล่าวไม่ได้ภาษีซื้อในส่วนของค่าวิเคราะห์วิจัยนั้นบริษัทฯ มีสิทธินำมาใช้เครดิตภาษีซื้อได้
หรือไม่ รายละเอียด
แนววินิจฉัย: กรณีตามข้อเท็จจริงการที่บริษัทฯ ประมูลงานไม่ได้ค่าวิเคราะห์วิจัยต่าง ๆ ถือว่าเกี่ยวข้อง
โดยตรงกับการประกอบกิจการ (โครงการผลิตกระแสไฟฟ้าอิสระ) ภาษีซื้อที่เกิดขึ้นย่อมนำมาหักใน
การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 82/5 (3) ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 17) ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534 ข้อ 4 ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อหา
กำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะและในแง่ภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65
ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 62/28108

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020