เลขที่หนังสือ | : กค 0811/09005 |
วันที่ | : 30 สิงหาคม 2542 |
เรื่อง | : การเสียภาษีของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในส่วนของงานตามหลักศาสนาอิสลาม |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 39, มาตรา 50(2), มาตรา 69 ทวิ, มาตรา 91/3 |
ข้อหารือ | : ธนาคารเป็นสถาบันการเงินของรัฐจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509 ในปี 2542 ธนาคารจะเปิดดำเนินงาน สถาบันการเงินตามหลักศาสนาอิสลาม โดยเป็นส่วนงานหนึ่งของธนาคาร ซึ่งจะมีทั้งการรับฝากเงินและ การให้สินเชื่อ การรับฝากเงินจะไม่จ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ฝาก แต่จะตอบแทนผู้ฝากเงินบัญชีออมทรัพย์เป็น เงินจำนวนหนึ่งตามธนาคารจะกำหนด เมื่อผลการดำเนินงานมีกำไร สำหรับผู้ฝากที่ประสงค์จะได้ผล ตอบแทนจากการที่ธนาคารนำเงินฝากไปหาประโยชน์จะเปิดบัญชีเงินฝากเพื่อการลงทุนภายใต้ข้อตกลง แบ่งปันผลกำไร ซึ่งหากเงินที่ฝากมีกำไรจากการที่ธนาคารนำไปลงทุนก็จะแบ่งผลกำไรคืนให้กับผู้ฝากตาม ข้อตกลง สำหรับการให้สินเชื่อนั้น ธนาคารจะให้บริการด้านการเงินภายใต้ข้อตกลงตามหลักศาสนา อิสลาม เพื่อเป็นการช่วยเหลือลูกค้าในการจัดหาเงินทุน ปุ๋ย ยาและวัสดุอุปกรณ์การเกษตร โดย ดำเนินการภายใต้ข้อตกลง ดังนี้ 1. การผ่อนชำระธนาคารจัดซื้อปัจจัยการผลิตให้แก่ลูกค้าตามที่ลูกค้ายื่นคำขอไว้ แล้วให้ ลูกค้าซื้อจาก ธนาคาร โดยผ่อนชำระตามระยะเวลาที่ตกลงกัน 2. การเช่าซื้อธนาคารจัดซื้อทรัพย์สินตามที่ลูกค้ายื่นคำขอไว้ แล้วให้ลูกค้าเช่าซื้อทรัพย์สิน นั้นจาก ธนาคาร 3. การเข้าลงทุนในโครงการและการร่วมลงทุน ธนาคารนำเงินฝากไปลงทุนแล้วแบ่ง กำไร กับผู้ประกอบการตามที่ตกลงกัน ธนาคารเห็นว่าการเปิดดำเนินกิจการสถาบันการเงินภายใต้หลักศาสนาอิสลาม ธนาคารได้ รับยกเว้นภาษีอากร ดังนี้ 1. ภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการดำเนินกิจการ ตามพระราชบัญญัติ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509 2. ภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 91/3 แห่งประมวลรัษฎากร 3. ภาษีมูลค่าเพิ่มโดยไม่ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการตามมาตรา 77/3 แห่ง ประมวลรัษฎากร สำหรับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เมื่อจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ฝากนั้น เนื่องจากมิใช่เงินได้ ประเภทดอกเบี้ยเงินฝากแต่เป็นเงินปันผลที่จ่ายให้แก่ผู้ฝากเมื่อมีกำไร ดังนั้น ธนาคารจึงต้องหัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ร้อยละ 10 กรณีจ่ายให้แก่บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร มาตรา 50 (2) แห่งประมวลรัษฎากร และร้อยละ 1 กรณีจ่ายให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร |
แนววินิจฉัย | : 1. ภาษีเงินได้นิติบุคคลเก็บจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่ง ประมวลรัษฎากรแต่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีฐานะเป็นนิติบุคคลมาตรา 5 แห่ง พระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509 จึงไม่อยู่ในข่ายจะต้องเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคล 2. กิจการที่อยู่ในข่ายเสียภาษีธุรกิจเฉพาะธนาคารได้รับยกเว้น ตามมาตรา 91/3 แห่ง ประมวลรัษฎากร 3. กิจการให้เช่าซื้อทรัพย์สินเป็นกิจการที่อยู่ในข่ายเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ธนาคาร จะต้อง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด 4. ในส่วนของเงินปันผลที่จ่ายให้แก่ผู้ฝากเงินกับธนาคารในส่วนของกิจการ ตามหลัก ศาสนาอิสลามนั้น เนื่องจากการจ่ายเงินปันผลไม่ได้เกิดจากการถือหุ้นหรือเข้าเป็นหุ้นส่วนแม้จะจ่ายให้แก่ ผู้ฝากเงินต่อเมื่อมีกำไร ก็ไม่ใช่เป็นการจ่ายเงินปันผลแต่เข้าลักษณะเป็นดอกเบี้ย เนื่องจากเป็น การคำนวณจ่ายจากเงินฝากฉะนั้นเมื่อธนาคารจ่ายให้แก่บุคคลธรรมดาต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา ร้อยละ 15 ตามมาตรา 50 (2) แห่งประมวลรัษฎากร และกรณีจ่ายให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะ ต้องหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 ตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร |
เลขตู้ | : 62/28251 |