เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/09143
วันที่: 2 กันยายน 2542
เรื่อง: ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีขายอสังหาริมทรัพย์
ข้อกฎหมาย: มาตรา 49 ทวิ
ข้อหารือ: นาย ก ได้ขายที่ดินเนื้อที่จำนวน 43 ไร่ 40 ตารางวา ให้แก่การเคหะแห่งชาติเป็นเงิน
40,945,000 บาทแต่ราคาประเมินเท่ากับ 68,960,000 บาท และในสัญญาซื้อขายดังกล่าวได้กำหนด
เงื่อนไขว่า เมื่อการเคหะแห่งชาติรังวัดที่ดินแล้ว หากมีจำนวนเนื้อที่ดินน้อยกว่าหรือมากกว่าที่ได้
จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ไว้ คู่สัญญาตกลงให้คิดราคาเพิ่มลดตามส่วนราคาต่อไร่ที่ได้กำหนดไว้ในสัญญา
หลังจากทำการรังวัดที่ดินแล้วปรากฏว่ามีเนื้อที่มากกว่าที่สัญญาระบุไว้จำนวน 2 งาน 76 ตารางวา ซึ่ง
การเคหะแห่งชาติจะต้องจ่ายเงินให้อีก 655,500 บาท แต่คิดเป็นราคาประเมินเท่ากับ 1,104,000
บาท ดังนั้น เมื่อคิดตามส่วนแห่งกรรมสิทธิ์แล้ว จึงเท่ากับแต่ละคนมีรายได้จากการขายที่ดินตาม
ราคาประเมินดังนี้ คือ นาง ข (มารดา) ครั้งแรกได้รับ 34,480,000 บาท ครั้งหลังได้รับ 552,000
บาท นาง ค (พี่สาว) ครั้งแรกได้รับ 17,240,000 บาท ครั้งหลังได้รับอีก 276,000 บาท และนาย ก
ครั้งแรกได้รับ 17,240,000 บาท ครั้งหลังได้รับ 276,000 บาท ซึ่งยอดเงินได้ในครั้งแรกได้ถูกหัก
ภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งไปแล้วคือมารดาถูกหัก ณ ที่จ่ายไป 3,622,000 บาท นาย ก และพี่สาวถูกหัก
ณ ที่จ่าย และนำส่งไปแล้วคนละ 1,174,000 บาท กรณีดังกล่าวจึงหารือว่า นาย ก พี่สาว และ
มารดาจะต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย อีกคนละเท่าใด
แนววินิจฉัย: กรณีตามข้อเท็จจริงดังกล่าว เงินได้ที่การเคหะแห่งชาติได้จ่ายให้ทั้งสองครั้งจะต้องนำ
มารวมกันเพื่อเป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เนื่องจากเป็นเงินได้ที่ได้รับจาก
การขายอสังหาริมทรัพย์ในครั้งเดียวกัน โดยวิธีแยกคำนวณตามส่วนแห่งกรรมสิทธิ์ของแต่ละคนซึ่งคำนวณ
จากราคาประเมินทุนทรัพย์ เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประเภทกฎหมาย
ที่ดิน ซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ในวันที่มีการจดทะเบียนตามมาตรา 49 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 62/28278

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020