เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/09663
วันที่: 14 กันยายน 2542
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการขอคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ข้อกฎหมาย: มาตรา 27 ตรี, พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 301) พ.ศ. 2539,
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ (ฉบับที่ 64)
ข้อหารือ: นาย ก ได้เปิดบัญชีไว้กับธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศ โดยเปิดบัญชีใหม่ในนามของตนเอง
และฝากเป็นประจำเท่ากันทุกเดือนเป็นระยะเวลา 24 เดือน และได้แจ้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
ให้กับธนาคาร โดยการชักชวนของพนักงานธนาคารว่าจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ไม่ถูกหักภาษีเงินได้ ณ
ที่จ่าย ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 64)ฯ นาย ก ได้ปฏิบัติตาม
เงื่อนไขดังกล่าวทุกประการ แต่ด้วยความพลั้งเผลอของพนักงานธนาคาร เมื่อฝากเงินครบกำหนดแล้ว
ทางธนาคารได้จ่ายดอกเบี้ย และหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ร้อยละ 15 พร้อมออก
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ และแจ้งให้ไปยื่นแบบ ค.10 เพื่อขอคืนภาษีต่อสรรพากรพื้นที่ที่มี
ภูมิลำเนาอยู่ นาย ก ได้ไปยื่นแบบ ค.10 พร้อมหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อขอคืนภาษีต่อ
สำนักงานสรรพากรพื้นที่ แต่เจ้าหน้าที่ปฏิเสธไม่ยอมรับแบบ ค.10 โดยแจ้งว่าให้นำไปรวมคำนวณกับ
ภาษีเงินได้ตอนสิ้นปีภาษีในแบบ ภ.ง.ด.90 หารือว่า นาย ก ไปยื่นแบบ ค.10 พร้อมหลักฐาน
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย บัตรประชาชน และทะเบียนบ้านต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่มี
ภูมิลำเนาอยู่ ถูกต้องหรือไม่ หากไม่ถูกต้องจะปฏิบัติอย่างไร จึงจะได้ภาษีคืนตาม
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 64)
แนววินิจฉัย: ตามข้อเท็จจริงดังกล่าว นาย ก ได้ฝากเงินประเภทบัญชีเงินฝากที่ได้รับยกเว้นเงินได้
ไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 301) พ.ศ. 2539 ประกอบ
กับประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 64) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และ
เงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารและดอกเบี้ยเงินฝาก
สหกรณ์ออมทรัพย์ ซึ่งเป็นการฝากเงินในประเทศธนาคารจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากให้ลูกค้าของบริษัทฯ และ
ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ผู้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย มีสิทธิ์ขอคืนภาษีที่ถูกหักและนำส่งแล้ว ภายใน 3
ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย โดยใช้คำร้องขอคืนภาษีตาม
แบบ ค.10 ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ที่ผู้มีสิทธิขอคืนมีภูมิลำเนาตามมาตรา 27 ตรี แห่ง
ประมวลรัษฎากร ดังนั้น สิ่งที่ นาย ก ปฏิบัติจึงเป็นการถูกต้องแล้ว
เลขตู้: 62/28316

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020