เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/10226
วันที่: 30 กันยายน 2542
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีให้ใช้สิทธิเช่าทำเหมืองแร่
ข้อกฎหมาย: มาตรา 40(5)(ก), มาตรา 77/1(10)
ข้อหารือ: นาย ก เป็นผู้ถือประทานบัตรแร่ชนิดแร่เฟลด์สปาร์ ได้ตกลงให้บริษัท ข จำกัด เป็นผู้เช่า
ช่วงทำเหมืองแร่ตามประทานบัตรดังกล่าว โดยคิดค่าเช่าในราคาตันละ 60 บาท ตามจำนวนที่ผลิตได้
จึงหารือว่า
(1) การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90) จะเสียเป็นเงินได้ตามมาตรา
40(5) หรือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร และหักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละเท่าไร
(2) การให้เช่าประทานบัตรได้รับยกเว้นการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ ปัจจุบันอยู่
ในระบบอยู่แล้วถ้าไม่ต้องจดทะเบียนสามารถขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวได้หรือไม่
แนววินิจฉัย: (1) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีตามข้อเท็จจริง เงินค่าตอบแทนที่ได้รับจากการให้
บริษัทฯ ได้ใช้สิทธิทำเหมืองแร่ในประทานบัตรตามสัญญาดังกล่าวถือเป็นเงินได้เนื่องจากการให้
เช่าทรัพย์สิน ตามมาตรา 40(5)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ
10 ตามมาตรา 5(1)(จ) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนด
ค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502
(2) ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีตามข้อเท็จจริง การให้บริษัทฯ ได้ใช้สิทธิในการทำเหมืองแร่
ตามประทานบัตรดังกล่าว โดยมีระยะเวลาการใช้สิทธิตามสัญญา ถือได้ว่าเป็นการกระทำใด ๆ อันอาจ
หาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิได้เป็นการขายสินค้า เข้าลักษณะเป็นบริการ ตามมาตรา 77/1 (10) แห่ง
ประมวลรัษฎากร หากการให้บริการดังกล่าวมีรายรับเกิน 1,200,000 บาท ต่อปี ผู้ประกอบการมีหน้าที่
ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85 แห่งประมวลรัษฎากร และอยู่ในบังคับต้องเสีย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 62/28375

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020