เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811(กม.01)/พ.108
วันที่: 14 ตุลาคม 2542
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีความรับผิดในการเสียภาษีสำหรับการชำระค่าบริการตามโครงการเงินกู้จากต่างประเทศ
ข้อกฎหมาย: มาตรา81/1(4)
ข้อหารือ: สำนักงานโยธาธิการจังหวัดฯ ได้รับเงินจากคลังจังหวัดฯ เป็นค่าใช้จ่ายเงินชดเชยค่างาน
ก่อสร้าง (ค่า K) ภายใต้มาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และได้ชำระเงินชดเชย
ค่างานก่อสร้างให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามสัญญาจ้างแบบปรับราคา ซึ่งในสัญญาจ้างดังกล่าว
กำหนดให้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 โดยสำนักงานโยธาธิการจังหวัดฯ ได้นำเงินกู้
ต่างประเทศชำระค่าจ้างไปแล้วบางส่วน โดยเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ตามที่กำหนดใน
สัญญา จึงหารือว่า
1. สำนักงานโยธาธิการจังหวัดฯ ได้ใช้เงินกู้ต่างประเทศตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่าย
ภาครัฐ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจชำระค่าชดเชยค่างานก่อสร้าง ผู้ประกอบการฯ จะได้รับสิทธิเสีย
ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 หรือไม่
2. กรณีสำนักงานโยธาธิการจังหวัดฯ ชำระเงินค่างานก่อสร้างและถูกเรียกเก็บ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 7.0 แล้ว หากผู้ประกอบการฯ ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา
ร้อยละ 0 สำนักงานโยธาธิการจังหวัดฯ จะต้องดำเนินการแก้ไขอย่างไร
แนววินิจฉัย: 1. กรณีสำนักงานโยธาธิการจังหวัดฯ ใช้เงินกู้ต่างประเทศตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่าย
ภาครัฐ ในการชำระค่าสินค้าหรือบริการ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนจะได้รับสิทธิใช้อัตราภาษีร้อยละ 0
ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ต่อเมื่อสำนักงานโยธาธิการจังหวัดฯ ได้ออกหนังสือรับรองการชำระค่า
สินค้าหรือบริการจากเงินกู้ต่างประเทศที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังดังกล่าว ให้แก่
ผู้ประกอบการจดทะเบียนทุกครั้งที่มีการซื้อสินค้าหรือรับบริการ ตามหลักเกณฑ์ข้อ 2 ของ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 28)ฯ ลงวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2535
2. กรณีตามข้อเท็จจริง สำนักงานโยธาธิการจังหวัดฯ มิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้อ 2 ของ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าว (ไม่ได้ออกหนังสือรับรองการชำระค่าสินค้าหรือบริการให้
ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของประกาศฯ) ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติครบถ้วนตาม
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ ฉบับดังกล่าวผู้ประกอบการจดทะเบียนจึง
เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 เป็นการถูกต้องแล้ว ตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกอบกับมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 236) พ.ศ.2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย
พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 353) พ.ศ.2542 จึงไม่มีกรณีที่ต้องคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด
เลขตู้: 62/28429

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020