เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/12651
วันที่: 16 ธันวาคม 2542
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีนำผลเสียหายจากการลดทุนโดยลดจำนวนหุ้นมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
ข้อกฎหมาย: มาตรา65 ตรี (17), มาตรา65 ทวิ (6)
ข้อหารือ: บริษัทฯ ได้ลงทุนซื้อหุ้น ธนาคาร ก ก่อนปี 2541 จำนวน 1,000,000 หุ้น โดยซื้อเพื่อ
การลงทุนหาผลประโยชน์จำนวน 700,000 หุ้น มูลค่าต้นทุนหุ้นละ 20 บาท และซื้อเพื่อขายจำนวน
300,000 หุ้น มูลค่าต้นทุนหุ้นละ 28 บาท แต่ธนาคารดังกล่าวดำเนินกิจการขาดทุนในเดือนสิงหาคม
2541 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ธนาคารฯ ลดทุนลงโดยลดจำนวนหุ้นตามสัดส่วนจำนวนหุ้นเดิม
1,000 หุ้น เหลือหุ้นใหม่ 1 หุ้น และนำส่วนที่ลดทุนไปลดผลขาดทุนตามบัญชีเพื่อให้งบการเงินของ
ธนาคารฯ แสดงฐานะการเงินถูกต้องตามความเป็นจริง ผลจากการลดทุนโดยลดจำนวนหุ้นของธนาคาร
ดังกล่าว ทำให้เงินลงทุนในหุ้นของบริษัทฯ ลดลง เป็นผลเสียหายจากการดำเนินการที่ไม่อาจได้กลับคืน
มา และต้องการให้ผลกำไรขาดทุนที่ปรากฏในบัญชีกำไรขาดทุนของบริษัทฯ แสดงถึงผลการดำเนินการ
อย่างสม่ำเสมอ จึงได้นำผลเสียหายดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ โดยคำนวณจาก
ต้นทุนของจำนวนหุ้นที่ลดลง จึงหารือว่าบริษัทฯ สามารถนำผลเสียหายจากการลดทุนโดยลดจำนวนหุ้นมา
ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรขาดทุนได้หรือไม่
แนววินิจฉัย: กรณีตามข้อเท็จจริงหุ้นของบริษัทฯ ที่ซื้อมาเพื่อการลงทุนหาผลประโยชน์จำนวน 700,000
หุ้น เข้าลักษณะเป็นทรัพย์สิน หากมีการลดมูลค่าหุ้น บริษัทฯ จะนำมูลค่าของหุ้นที่ตีราคาต่ำลง (ไม่ว่าจะ
โดยการลดมูลค่าหุ้นหรือลดจำนวนหุ้น) มาถือเป็นรายจ่ายไม่ได้ ตามมาตรา 65 ตรี (17) แห่ง
ประมวลรัษฎากร แต่บริษัทฯ จะนำผลเสียหายจากการลดทุนมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้
ต่อเมื่อได้มีการขายหุ้นดังกล่าว
สำหรับหุ้นจำนวน 300,000 หุ้น ที่ซื้อมาเพื่อขาย เข้าลักษณะเป็นสินค้า หากมีผลขาดทุน
จากการตีราคาสินค้าคงเหลือ (ไม่ว่าจะโดยการลดมูลค่าหุ้นหรือลดจำนวนหุ้น) บริษัทฯ จะนำมาถือเป็น
รายจ่ายไม่ได้ ตามมาตรา 65 ทวิ (6) แห่งประมวลรัษฎากร เพราะการตีราคาตลาดซึ่งต่ำกว่าทุนนั้น
เท่ากับเป็นการหักรายจ่ายไปครั้งหนึ่งแล้ว
เลขตู้: 62/28709

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020