เลขที่หนังสือ | : กค 0811/91 |
วันที่ | : 10 มกราคม 2543 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการนำผลเสียหายจากการลดทุนโดยลดจำนวนหุ้นมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 65 ตรี (17) |
ข้อหารือ | : บริษัทฯ เป็นโฮลดิ้งคอมปานี ได้เข้าไปลงทุนซื้อหุ้นสามัญของบริษัทจำกัดแห่งหนึ่ง (บริษัท ก.) คิดเป็นร้อยละ 53.97 ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้ว ต่อมาบริษัท ก. ต้องการจะเข้า จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่ในขณะนั้นบริษัท ก. ยังคงมีผลขาดทุนสะสมอยู่เป็น จำนวนเงิน 100 ล้านบาท ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ บริษัท ก. จึงได้เรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อ ลงมติโดยมติพิเศษลดทุนลงเป็นจำนวนเงิน 100 ล้านบาท โดยการลดจำนวนหุ้นสามัญ 10 ล้านหุ้นเพื่อ ล้างขาดทุนสะสม หลังจากนั้นบริษัท ก. ก็มีการเพิ่มทุนและนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย บริษัทฯ เข้าใจว่าเนื่องจากบริษัทฯ เป็นโฮลดิ้งคอมปานี รายได้หลักจากเงินปันผลที่ได้ จากการลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัท ก. การลดทุนโดยการลดจำนวนหุ้นสามัญลงทำให้จำนวนหุ้นสามัญที่ บริษัทฯ ถืออยู่ลดหายไปตามเปอร์เซ็นต์ที่บริษัทฯ ถือหุ้นอยู่ในบริษัท ก. บริษัทฯ จึงหารือว่าการที่บริษัท ก. ลดทุนโดยลดจำนวนหุ้นสามัญลง ทำให้เกิดผลขาดทุนจากการลดทุนดังกล่าว บริษัทฯ ได้บันทึกเป็นผล ขาดทุนจากเงินลงทุนและนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลถูกต้อง หรือไม่ |
แนววินิจฉัย | : การที่บริษัทฯ ได้เข้าไปลงทุนซื้อหุ้นสามัญจากบริษัท ก. เพื่อหวังเงินปันผล จึงเป็นการถือ หุ้นไว้ในลักษณะทรัพย์สิน เมื่อบริษัท ก. ได้ทำการลดทุนโดยการลดจำนวนหุ้นสามัญลง 10 ล้านหุ้น เพื่อ ลดผลขาดทุนสะสม ผลจากการลดทุนทำให้จำนวนหุ้นที่บริษัทฯ ถืออยู่ลดหายไปตามเปอร์เซ็นต์ที่บริษัทฯ ถือ อยู่ กรณีดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการตีราคาทรัพย์ต่ำลงโดยการลดจำนวนหุ้น บริษัทฯ จะนำมูลค่าของหุ้นที่ ลดจำนวนหุ้นลงมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ ตามมาตรา 65 ตรี (17) แห่ง ประมวลรัษฎากร แต่บริษัทฯ จะนำผลเสียหายจากการลดทุนโดยการลดจำนวนหุ้นมาถือเป็นรายจ่ายใน การคำนวณกำไรสุทธิได้ต่อเมื่อได้มีการขายหุ้นดังกล่าว |
เลขตู้ | : 63/28802 |