เลขที่หนังสือ | : กค 0811/1864 |
วันที่ | : 10 มีนาคม 2543 |
เรื่อง | : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการใช้เงินตามสัญญากู้เงินจากกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งญี่ปุ่น (OECF) |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 80/1 (4), มาตรา 81 (1) (ณ), มาตรา 82/3 |
ข้อหารือ | : องค์การรถไฟฟ้ามหานคร (รฟมาตรา) แจ้งว่า รฟมาตรา ได้ทำสัญญาเงินกู้กับกองทุนความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งญี่ปุ่น (OECF) เพื่อใช้เงินกู้ในการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ามหานคร ระยะ แรก สายหัวลำโพง-ศูนย์ประชุมฯ สิริกิติ์*บางซื่อ (สายสีน้ำเงิน) ดังนี้ 1.1 Loan Agreement No.TXXI-4 ฉบับลงวันที่ 27 กันยายน 2539 OECF ให้ เงินกู้เป็นค่าก่อสร้างโครงการร้อยละ 60 ของค่าก่อสร้าง 1.2 Loan Agreement No.TXXIII-3 ฉบับลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2541 OECF ให้เงินกู้เป็นค่าก่อสร้างโครงการส่วนที่เหลือร้อยละ 40 ของค่าก่อสร้างที่ รฟ*มาตรา จ่ายหลังจากวันที่ 1 กรกฎาคม 2540 ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2540 เป็นต้นมา รฟ*มาตราได้ชำระเงินค่าก่อสร้างร้อยละ 60 จาก เงินกู้ OECF ตามข้อกำหนดใน Loan Agreement No.TXXI-4 ฉบับลงวันที่ 27 กันยายน 2539 โดย ใช้อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 0 ทั้งนี้ เป็นไปตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 28) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการกับกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจ ตามโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ ตามมาตรา 80/1 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2535 และรฟ*มาตราได้ชำระเงิน ค่าก่อสร้างส่วนที่เหลือร้อยละ 40 จากแหล่งเงินกู้ในประเทศ โดยใช้อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7.0 หรือ 10.0 แล้วแต่กรณี ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ รฟ*มาตราจ่ายให้กับผู้รับเหมาก่อสร้าง รฟ*มาตราได้ยื่นแบบขอคืนภาษีซื้อ ดังกล่าวจากกรมสรรพากรแต่จนถึงปัจจุบันยังมิได้รับคืนเงินภาษีจากกรมสรรพากรแต่อย่างใด และ เนื่องจากในภายหลัง รฟ*มาตราได้รับอนุมัติเงินกู้จาก OECF ตาม Loan Agreement No.TXXIII-3 ฉบับ ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2541 ซึ่งมีผลย้อนหลังทำให้แหล่งเงินเพื่อจ่ายค่าก่อสร้างส่วนที่เหลือร้อยละ 40 ที่ รฟ*มาตราจ่ายให้กับผู้รับเหมาก่อสร้างไปแล้วเปลี่ยนจากแหล่งเงินกู้ในประเทศมาเป็นเงินกู้จาก OECF ซึ่ง ใช้อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 0 ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการของ รฟ*มาตรา ในส่วนที่เกี่ยวกับ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนจากอัตราร้อยละ 7.0 หรือ 10.0 เป็นอัตราร้อยละ 0 รฟ*มาตราจึงขอหารือดังนี้ 1. วิธีการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีขาย) ที่ผู้รับเหมาก่อสร้างรับไปจาก รฟ*มาตราและ นำส่งกรมสรรพากรแล้ว 2. วิธีการยกเลิกการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีซื้อ) ที่ รฟ*มาตราขอคืนแต่ยังไม่ได้รับเงิน คืนจากกรมสรรพากร |
แนววินิจฉัย | : 1. ค่าก่อสร้างโครงการส่วนที่เหลือร้อยละ 40 ที่ รฟ*มาตราได้ชำระเงินไปโดยใช้เงินจาก แหล่งเงินกู้ภายในประเทศ การขายสินค้าหรือการให้บริการดังกล่าว ผู้ประกอบการไม่มีสิทธิใช้ อัตราภาษีร้อยละ 0 ในการคำนวณเพื่อยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม และเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จาก รฟ*มาตราตามมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากรทั้งนี้ ไม่เข้าตามเงื่อนไขในมาตรา 80/1(4) แห่ง ประมวลรัษฎากร ประกอบกับตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 28)ฯ ลงวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2535 ดังนั้น ตามที่ผู้ประกอบการได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก รฟ*มาตราในอัตรา ร้อยละ 7.0 หรือร้อยละ 10.0 แล้วแต่กรณี จึงชอบแล้ว 2. เนื่องจากภาษีที่ รฟ*มาตราถูกเรียกเก็บตาม 1. เป็นภาษีเนื่องมาจากการลงทุนก่อสร้าง งานโยธาโครงการรถไฟฟ้ามหานคร อันเกี่ยวกับการให้บริการขนส่งโดยสารด้วยรถไฟฟ้า ซึ่งเป็นกิจการ ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(ณ) แห่งประมวลรัษฎากร รฟ*มาตราจึงไม่มีสิทธินำภาษีที่ถูก เรียกเก็บดังกล่าวมาใช้ในการคำนวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามมาตรา 77/1(18) และมาตรา 82/4 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร |
เลขตู้ | : 63/29018 |