เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/พ.1953
วันที่: 14 มีนาคม 2543
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีส่งออกใบยาสูบ
ข้อกฎหมาย: มาตรา 80/1 (1), มาตรา 81 (1) (ก). มาตรา 81/3 (1)
ข้อหารือ: บริษัท อ. จำกัด ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มของเดือนภาษีมกราคม 2539 ถึง
เดือนภาษีมีนาคม 2539 จำนวน 93,723 บาท จากการตรวจปฏิบัติการของสำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่
ปรากฏว่า บริษัทฯ เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากกรมสรรพสามิตให้ดำเนินการส่งเสริมการเพาะปลูกต้นยาสูบ
พันธุ์เตอร์กิช ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 จังหวัด และเป็นผู้รับซื้อใบยาสูบพันธุ์เตอร์กิชจาก
ชาวไร่ที่ได้รับการส่งเสริมการเพาะปลูกตามเงื่อนไขสัญญาที่ทำไว้กับกรมสรรพสามิต ตามหลักฐานการ
ส่งออกใบยาสูบในเดือนภาษีมกราคม 2539 ถึงเดือนภาษีเมษายน 2539 พบว่า บริษัทฯ ส่งใบยาสูบไป
ให้ บริษัท ส. จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยและได้ทำหนังสือถึงกรมสรรพสามิตยินยอมให้
บริษัท ส. เป็นผู้ส่งออกใบยาสูบไปต่างประเทศ โดยบริษัทฯ จะออกใบ INVOICE ให้บริษัท ส. จากนั้น
บริษัท ส. จะออกใบ INVOICE ให้กับบริษัท ผู้ซื้อในต่างประเทศ ส่วนเอกสารประกอบการส่งออกอื่น ๆ
และการรับชำระเงินค่าสินค้าจะเป็นชื่อของบริษัท ส. สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่เห็นว่าบริษัทฯ ไม่เป็น
ผู้ส่งออกที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร
แต่ถือว่าเป็นการขายสินค้าในราชอาณาจักร ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1) แห่ง
ประมวลรัษฎากร เนื่องจากเป็นสินค้าเกษตร
สำนักงานสรรพากรภาคเห็นว่า การพิจารณาว่าผู้ใดเป็นผู้ส่งออกสินค้าที่จะได้รับสิทธิเสีย
ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องพิจารณาจาก
ใบขนสินค้าขาออก ตามข้อเท็จจริงใบขนสินค้าขาออกระบุชื่อ บริษัท ส. จำกัด เป็นผู้ส่งออก ต้องถือว่า
บริษัท ส. เป็นผู้ส่งออกและได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(1) แห่ง
ประมวลรัษฎากร ส่วนกรณีที่บริษัทฯ ขายใบยาสูบพันธุ์เตอร์กิช*ในราชอาณาจักรแม้จะได้รับ
ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(ก) แห่งประมวลรัษฎากรแต่เนื่องจากบริษัทฯ เป็น
ผู้ประกอบการที่ขอใช้สิทธิจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็ต้องมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81/3(1)
แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อบริษัทฯ ขายสินค้าดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อในราชอาณาจักรย่อมมีสิทธิเรียกเก็บ
ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0
แนววินิจฉัย: 1. กรณีบริษัทฯ รับซื้อใบยาสูบจากชาวไร่ และส่งมอบให้บริษัท ส. เมื่อบริษัท ส. รับมอบ
ใบยาสูบแล้วได้ส่งออกไปยังต่างประเทศและตามใบขนสินค้าระบุชื่อ บริษัท ส. เป็นผู้ส่งออก ถือว่าบริษัท
ส. เป็นผู้ส่งออกและได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(1) แห่ง
ประมวลรัษฎากร
2. การขายใบยาสูบโดยมิได้ปรุงแต่งเพิ่มเติม เข้าลักษณะเป็นการจำหน่ายพืชผลทาง
การเกษตร ตามมาตรา 81(1)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ผู้ขายในราชอาณาจักรได้รับ
ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่บริษัทฯ มีสิทธิแจ้งต่ออธิบดีตามแบบที่อธิบดีกำหนดเพื่อขอจดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่มและเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81/3(1) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 63/29038

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020