เลขที่หนังสือ | : กค 0811/พ.1964 |
วันที่ | : 14 มีนาคม 2543 |
เรื่อง | : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการจากเงินกู้ตามโครงการมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 80/1 (4) |
ข้อหารือ | : จังหวัดฯ ได้รับแจ้งจากกรมการปกครอง ให้ถือปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีชำระค่า สินค้าหรือบริการ ตามโครงการเงินกู้พิเศษภายใต้มาตรการเพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ประจำปีงบประมาณ 2542 โดยแจ้งแนวทางปฏิบัติการหักภาษี ณ ที่จ่าย จากเงินกู้จากต่างประเทศ กรณี ที่ทางราชการ องค์การรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจที่จ่ายเงินกู้ตามโครงการเงินกู้จากต่างประเทศ ในการซื้อ หรือการว่าจ้างเพื่อดำเนินงานตามโครงการเงินกู้ กล่าวคือ ภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีการขายสินค้าหรือการ ให้บริการกับส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจตามโครงการเงินกู้จากรัฐบาลต่างประเทศ สถาบันการเงิน ของรัฐบาลต่างประเทศ หรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ให้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(4) แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้ส่วนราชการองค์การรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจผู้จ่าย เงินออกหนังสือรับรองการชำระค่าสินค้าหรือบริการ และให้ทำสำเนาใบกำกับภาษีและหนังสือรับรอง ดังกล่าว ส่งให้กรมสรรพากรเป็นเวลาสองเดือนต่อครั้ง จึงขอทราบว่า 1. กรณีที่หน่วยราชการที่ได้ชำระค่าสินค้าหรือบริการโดยคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7.0 รวมเข้าด้วยแล้วเช่นนี้ หน่วยราชการจะต้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระไปพร้อมกับค่าสินค้าหรือ บริการใช่หรือไม่ ถ้าต้องขอคืนจะต้องขอคืนจากสำนักงานสรรพากรอำเภอโดยตรง และมีวิธีปฏิบัติในการ ขอคืนเช่นใด 2. กรณีตามข้อ 1 ถ้าเมื่อหน่วยราชการได้ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ประกอบการแล้วแต่ ผู้ประกอบการบ่ายเบี่ยง พยายามหลีกเลี่ยงหรือไม่ยอมชำระคืนไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ จะมีมาตรการตาม กฎหมายอันจะใช้อ้างได้โดยชอบอย่างใด เพื่อให้ได้รับชำระคืนภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว 3. หากผู้ประกอบการผู้ได้รับชำระค่าสินค้าหรือบริการ ซึ่งรวมกับภาษีมูลค่าเพิ่มไปแล้ว จะ มอบอำนาจให้แก่ผู้บริหารของหน่วยราชการ (ส่วนท้องถิ่น) ซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคล ให้ไปยื่นหลักฐาน ขอรับเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระเกินไป ณ สำนักงานสรรพากร ที่สำนักงานของผู้ประกอบการตั้งอยู่จะได้ หรือไม่ เพียงใด |
แนววินิจฉัย | : 1. กรณีตามข้อ 1. เมื่อผู้ประกอบการได้รับสิทธิใช้อัตราร้อยละ 0 ในการคำนวณ ภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ผู้ประกอบการไม่ได้ใช้สิทธิดังกล่าว และเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับ บริการไปแล้ว หากประสงค์จะขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มไปแล้วจากกรณี ดังกล่าว ผู้ประกอบการเป็นผู้มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยยื่นคำร้องตามแบบ ค.10 ณ สำนักงาน สรรพากรอำเภอ หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัดภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ได้ชำระภาษีตามมาตรา 84/1 แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อส่งคืนให้จังหวัดต่อไป 2. กรณีตามข้อ 2. เป็นการใช้สิทธิตามที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 28) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการ ให้บริการกับกระทรวง ทบวง กรมราชการส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจ ตามโครงการเงินกู้หรือ เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ ตามมาตรา 80/1(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2535 เมื่อจังหวัดได้ออกหนังสือรับรองที่มีรายการครบถ้วนตามข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ดังกล่าว ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 โดยผู้ประกอบการ ไม่ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7.0 จากจังหวัดแต่อย่างใด 3. กรณีตามข้อ 3. การคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจะคืนให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเท่านั้น ผู้มีสิทธิขอคืนจึงต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน โดยยื่นคำร้องขอคืนภาษีตามแบบ ค.10 |
เลขตู้ | : 63/29042 |