เลขที่หนังสือ | : กค 0811/3637 |
วันที่ | : 8 พฤษภาคม 2543 |
เรื่อง | : สิทธิประโยชน์ทางภาษี กรณีโอนทรัพย์สินตามแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 4, พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 340) พ.ศ. 2541 |
ข้อหารือ | : บริษัท อ. จำกัด ประกอบกิจการเป็นผู้ผลิตแผงวงจรไฟฟ้าเพื่อส่งออก ประสบภาวะขาด สภาพคล่องและมีหนี้สินล้นพ้นตัวโดยมีเจ้าหนี้อยู่เป็นจำนวนมากทั้งในและต่างประเทศ บริษัท อ. จึงเข้าสู่ ขบวนการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายล้มละลาย โดยมีรายละเอียดของแผนฟื้นฟูกิจการซึ่งศาลได้ให้ ความเห็นชอบแล้ว ดังนี้ 1. ตั้งบริษัท พ. โดยจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในประเทศไทย จะถือหุ้นโดยบริษัท อ.โฮลดิ้งฯ ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ เพื่อรับโอนทรัพย์สินของบริษัท อ. 2. ทรัพย์สินที่บริษัท อ. จะโอนไปนั้นมีมูลค่า 40 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่การชำระ ค่าตอบแทนการโอนทรัพย์สินดังกล่าว บริษัท พ. จะชำระเป็นเงินสด 5 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนที่เหลือ 35 ล้านเหรียญสหรัฐ บริษัท พ. จะเข้ารับช่วงการเป็นลูกหนี้ที่บริษัท อ. มีฐานะเป็นลูกหนี้กับเจ้าหนี้อื่น เป็นจำนวน 35 ล้านเหรียญสหรัฐ 3. ในการจัดตั้งบริษัท พ. เพื่อดำเนินการตาม 1. นั้น บริษัท อ. ซึ่งแต่เดิมมีทุน จดทะเบียนไม่มากนัก จะต้องดำเนินการเพิ่มทุน 30 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีรายละเอียดดังนี้ แผนฟื้นฟูกิจการดังกล่าวได้มีการดำเนินการไปแล้วบางส่วน รวมทั้งการที่บริษัท พ. รับโอนหนี้ของบริษัท อ. ไปบางส่วนแล้วยังเหลือในกรณีที่บริษัท อ. ยังคงมีความผูกพันตามแผนฟื้นฟู กิจการที่จะต้องโอนทรัพย์สินให้แก่บริษัท พ. และบริษัท ต. จำกัด ในฐานะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการของ บริษัท อ. จึงขอหารือว่าการโอนทรัพย์สินจากบริษัท อ. ไปยังบริษัท พ. ตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลได้ เห็นชอบด้วยดังกล่าวแล้ว จะได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 340) พ.ศ. 2541 หรือไม่ |
แนววินิจฉัย | : การที่บริษัท อ. เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายล้มละลาย โดยแผนฟื้นฟูกิจการ ของบริษัท อ.กำหนดให้บริษัท อ. โอนทรัพย์สินให้แก่ บริษัท พ. นั้น หากการโอนทรัพย์สินดังกล่าวเป็น ไปตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายล้มละลายและศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบในแผนฟื้นฟูกิจการนั้นแล้ว การ โอนทรัพย์สินดังกล่าวย่อมได้รับสิทธิยกเว้นภาษีอากร ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 340) พ.ศ. 2541 |
เลขตู้ | : 63/29286 |