เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/3654
วันที่: 9 พฤษภาคม 2543
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการคำนวณเงินได้พึงประเมินเป็นจำนวนเท่ากับร้อยละ 5 ของรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนจากการส่งออก
ข้อกฎหมาย: มาตรา 36(4), พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520
ข้อหารือ: สรรพากรภาคได้หารือกรณี บริษัท ไดว่าฯ จำกัด ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ
ส่งเสริมการลงทุนให้รับโอนกิจการจากบริษัท กรุงเทพฯ จำกัด โดยได้รับโอนบัตรส่งเสริมเลขที่ 1504/
สอ./2531 ซึ่งเป็นกิจการผลิตรอกเบ็ดตกปลา และบัตรส่งเสริมเลขที่ 1153/สอ./2533 ซึ่งเป็นกิจการ
ผลิตคันเบ็ดตกปลา เมื่อบริษัท กรุงเทพฯ โอนกิจการผลิตตัวรอกและคันเบ็ดตกปลาแล้ว บริษัท กรุงเทพฯ
ยังคงประกอบกิจการขายสินค้าภายในประเทศตามปกติ คือ รับจ้างผลิตขอบยางตู้เย็น ขอบคิ้วรถยนต์
ฯลฯ ซึ่งเป็นกิจการที่ไม่เกี่ยวกับการผลิตตัวรอกและคันเบ็ด โดยสำนักงานฯ ได้ให้บริษัท ไดว่าฯ ได้รับ
สิทธิและประโยชน์เท่าที่เหลืออยู่ดังต่อไปนี้
1. บัตรเลขที่ 1504/สอ./2531 เริ่มมีรายได้เมื่อเดือนมกราคม 2532 ซึ่งเมื่อนับ
ระยะเวลา 10 ปี สิทธิและประโยชน์ตามมาตรา 36(4) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.
2520 จะสิ้นสุดในเดือนมกราคม 2542(บัตรใหม่เลขที่ 1005/สอ./2538 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม
2538)
2. บัตรเลขที่ 1153/สอ./2533 เริ่มมีรายได้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2534 ซึ่งเมื่อนับ
ระยะเวลา 10 ปี สิทธิและประโยชน์ตามมาตรา 36(4) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมฯ จะสิ้นสุดในเดือน
กุมภาพันธ์ 2544 (บัตรใหม่เลขที่ 1006/สอ./2538 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2538)
บริษัทฯ จึงขอทราบว่า
1.1 วิธีการในการนับระยะเวลา 10 ปี ตามข้อ 1. และข้อ 2. ถูกต้องหรือไม่
1.2 วิธีการนับรอบระยะเวลาบัญชี 1 ปี ตามปีงบการเงินของบริษัทฯ ตามสิทธิและ
ประโยชน์ตามมาตรา 36(4) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมฯ จะนับระยะเวลาอย่างไร
1.3 ในปี 2538 บริษัท ไดว่าฯ จะใช้สิทธิและประโยชน์ตามมาตรา 36(4) แห่ง
พระราชบัญญัติส่งเสริมฯ คือ มีสิทธิหักเงินได้พึงประเมินเป็นจำนวนเท่ากับร้อยละ 5 ของรายได้ที่เพิ่มขึ้น
จากปีก่อน โดยบริษัทฯ จะหาค่าเฉลี่ยรายได้จากการส่งออก 3 ปีย้อนหลัง โดยนำยอดรายได้ของบริษัท
กรุงเทพฯ มารวมเปรียบเทียบ ตัวอย่างเช่น
บาท
ปี ยอดส่งออก (ตามงบฯ) ตัวรอก คันเบ็ด
2535 บ.กรุงเทพฯ 108,674,027.23 37,976,119.07
2536 บ.กรุงเทพฯ 95,612,377.08 62,421,417.83
2537 บ.กรุงเทพฯ 122,645,524.30 40,301,615.35
รวม 3 ปี 326,931,928.61 140,699,152.25
เฉลี่ย/ปี (หาร 3) 108,977,309.54 46,899,717.42
2538 บ.กรุงเทพฯ 56,363,604.54 20,131,262.45
บ.ไดว่าฯ 118,168,815.89 29,186,871.00
รวมยอดส่งออกทั้งปี 174,532,420.43 49,318,133.45
ผลต่างปี 2538 (ปี 38-ปี 37) 51,886,896.13 9,016,518.10
คิดร้อยละ 5 (ปี 2538) 2,594,344.81 450,825.91
2539 บ.ไดว่าฯ 269,415,684.38 80,284,773.98
ผลต่างปี 2539 (ปี 39-ปี 38) 94,883,263.95 30,966,640.53
คิดร้อยละ 5 (ปี 2539) 4,744,163.20 1,548,332.03
จากตัวอย่างข้างต้น บริษัท ไดว่าฯ มีสิทธินำส่วนของร้อยละ 5 มาหักลดหย่อนในปี 2538 เท่ากับ
2,594,344.81 บาท และ 450,825.91 บาท ใช่หรือไม่ เพราะในปี 2538 บริษัทฯ ยังไม่ได้ใช้สิทธิ
และประโยชน์ของส่วนร้อยละ 5 และในปี 2539 บริษัทฯ มีสิทธิใช้ยอดตัวเลขร้อยละ 5 มาหักลดหย่อน
คือ 4,744,163.20 บาท และ 1,548,332.03 บาท มาหักจากเงินได้พึงประเมินใช่หรือไม่
1.4 กรณีบริษัท ไดว่าฯ ไม่ได้ใช้สิทธิประโยชน์ตามมาตรา 36(4) แห่งพระราชบัญญัติ
ส่งเสริมฯ ตั้งแต่วันที่รับโอน บริษัท ไดว่าฯ ยังคงมีสิทธิได้รับอนุญาตหักเงินได้พึงประเมินเป็นจำนวน
เท่ากับร้อยละ 5 ของรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนได้หรือไม่
2 สรรพากรภาคเห็นว่า
2.1 ตามข้อ 1.1 ความเข้าใจของบริษัทฯ ถูกต้องแล้ว เนื่องจากบริษัทฯ ได้รับอนุมัติ
จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนให้ได้รับสิทธิและประโยชน์เพียงเท่าที่บริษัท กรุงเทพฯ ซึ่งเป็น
ผู้ได้รับส่งเสริมเดิมยังคงเหลืออยู่ ตามมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมฯ
2.2 ตามข้อ 1.2 บริษัท ไดว่าฯ มีสิทธินับระยะเวลาหนึ่งปีตามปีงบการเงินของ
ผู้ได้รับการส่งเสริมได้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่มีรายได้จากการประกอบกิจการ ดังนั้น เมื่อบริษัทฯ
เริ่มมีรายได้เดือนกุมภาพันธ์ 2534 ระยะเวลาสิบปีจะครบกำหนดในเดือนกุมภาพันธ์ 2544 แม้จะเป็น
งบการเงินปีที่ 11 ของบริษัทฯ ก็มีสิทธิใช้สิทธิและประโยชน์ ตามมาตรา 36(4) แห่งพระราชบัญญัติ
ส่งเสริมฯ ได้
2.3 ตามข้อ 1.3 เนื่องจากรายได้จากการส่งออกในปี 2538 บริษัท กรุงเทพฯ มี
รายได้ 56,363,604.54 บาท และบริษัท ไดว่าฯ มีรายได้ส่งออก 118,168,815.89 บาท การ
หักเงินได้พึงประเมินเท่ากับร้อยละห้าตามมาตรา 36(4) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมฯ จึงต้องเฉลี่ย
ตามส่วนรายได้ที่ได้ทำการส่งออกของแต่ละบริษัท ดังนี้
บริษัท กรุงเทพฯ ได้ส่งออกตัวรอก ตั้งแต่ 1 มกราคม - 30 พฤษภาคม 2538
51,886,896.13 (ผลต่างปี 2538) x 56,363,604.54 (ยอดส่งออกของบริษัทกรุงเทพฯ) =
16,756,385.358 บาท
174,532,420.43 (ผลรวมส่งออกของบริษัททั้ง 2)
บริษัท กรุงเทพฯ จะหักเงินได้พึงประเมินเป็นจำนวนเท่ากับร้อยละห้าของรายได้ที่เพิ่มขึ้น
จากปีก่อน คือ 16,756,385.358 x 5% = 837,819.2679 บาท
ส่วนบริษัท ไดว่าฯ ส่งออกตัวรอก (ตั้งแต่ 1 มิ.ย. - 31 ธ.ค.2538) จะหักเงินได้พึง
ประเมินเป็นจำนวนเท่ากับร้อยละ 5 = 2,594,344.81 (ผลรวมร้อยละ 5 ของทั้ง 2 บริษัท) -
837,819.2679 = 1,756,525.5421 บาท
กรณีบริษัท กรุงเทพฯ ส่งออกคันเบ็ด ตั้งแต่ 1 มกราคม - 30 พฤษภาคม 2538 =
9,016,518.10 (ผลต่างปี 2538) x 20,131,262.45 (ยอดส่งออกของบริษัท กรุงเทพฯ) =
3,680,469.63 บาท
49,318,133.45 (ผลรวมส่งออกของบริษัททั้ง 2)
บริษัท กรุงเทพฯ จะหักเงินได้พึงประเมินเป็นจำนวนเท่ากับร้อยละห้าของรายได้ที่เพิ่มขึ้น
จากปีก่อน
= 3,680,469.63 x 5%
= 184,023.481 บาท
ส่วนบริษัท ไดว่าฯ ส่งออกคันเบ็ด (ตั้งแต่ 1 มิ.ย. - 31 ธ.ค.2538) จะหักเงินได้พึง
ประเมินเป็นจำนวนเท่ากับร้อยละ 5
= 450,825.91 - 184,023.481
= 266,802.429 บาท
จากการคำนวณดังกล่าว บริษัท ไดว่าฯ จะหักเงินได้พึงประเมินเป็นจำนวนเท่ากับร้อยละ
5 สรุปได้ดังนี้
ตัวรอก (1 มิ.ย. - 31 ธ.ค.38) คันเบ็ด (1 มิ.ย. - 31 ธ.ค.38)
1,756,525.5421 266,802.429
สำหรับปี 2539 บริษัท ไดว่าฯ มีสิทธิหักเงินได้พึงประเมินเป็นจำนวนเท่ากับร้อยละ 5
ของรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยรายได้จากการส่งออกจะต้องไม่น้อยกว่ารายได้จากการส่งออกเฉลี่ย
3 ปีย้อนหลัง
2.4 ตามข้อ 1.4 บริษัท ไดว่าฯ ยังคงมีสิทธิและประโยชน์ดังกล่าวตั้งแต่ปี 2538
จนถึงปี 2544 โดยบริษัทฯ ยังคงใช้สิทธิและประโยชน์ข้างต้นย้อนหลังได้ภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ใน
บัตรส่งเสริมที่บริษัทฯ ได้รับโอนแต่บริษัทฯ ต้องปรับปรุงงบดุลและยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.50
เพิ่มเติมในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีที่ต้องการใช้สิทธิและประโยชน์ดังกล่าวย้อนหลังให้ถูกต้องต่อไป
แนววินิจฉัย: ตามข้อเท็จจริง บริษัท ไดว่าฯ ได้รับโอนกิจการผลิตรอกตกปลาและคันเบ็ดสำหรับตกปลา
เพื่อการส่งออกจากบริษัท กรุงเทพฯ โดยบริษัท ไดว่าฯ ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในกิจการทั้งสอง
ดังกล่าวต่อจากบริษัทกรุงเทพฯ โดยได้รับสิทธิและประโยชน์ เท่าที่เหลืออยู่ตามบัตรส่งเสริมฯ ที่บริษัท
กรุงเทพฯ ได้รับ ดังนั้น
3.1 ตามข้อ 1.1 และข้อ 1.2 เนื่องจากตามบัตรส่งเสริมฯ ทั้งสอง กำหนดให้ได้รับ
สิทธิและประโยชน์ตามมาตรา 36(4) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมฯ เป็นระยะเวลาสิบปีนับแต่วันที่มี
รายได้จากการประกอบกิจการนั้นวันที่เริ่มมีรายได้ หมายถึง วันที่บริษัท กรุงเทพฯ เริ่มมีรายได้จากการ
ส่งสินค้าออกตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ทั้งนี้ ไม่ว่าบริษัท กรุงเทพฯ จะได้รับเงินหรือ
ได้รับชำระราคาแล้วหรือไม่ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าบริษัท กรุงเทพฯ เริ่มมีรายได้จากการ
ส่งออกภายในเดือนมกราคม 2532 และภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2534 สิทธิและประโยชน์ตามบัตร
ส่งเสริมฯ จึงสิ้นสุดภายในเดือนมกราคม 2542 และเดือนกุมภาพันธ์ 2544 ตามลำดับบริษัทไดว่าฯ ซึ่ง
รับโอนกิจการดังกล่าวจึงได้รับสิทธิประโยชน์สิ้นสุดภายในเดือนมกราคม 2542 และเดือนกุมภาพันธ์
2544 ตามลำดับเช่นกัน ทั้งนี้ ตามมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมฯ
3.2 ตามข้อ 1.3 และข้อ 1.4 เนื่องจากบริษัท ไดว่าฯ และบริษัท กรุงเทพฯ เป็น
คนละนิติบุคคลกันบริษัท ไดว่าฯ จะนำรายได้จากการส่งออกของบริษัท กรุงเทพฯ มาถือเป็นปีฐานใน
การคำนวณตามมาตรา 36(4) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมฯ ไม่ได้ ดังนั้น การใช้สิทธิและประโยชน์
ดังกล่าวของบริษัท ไดว่าฯ ให้ถือรายได้จากการส่งออกของบริษัท ไดว่าฯ ในรอบปีแรกที่ได้รับโอนสิทธิ
และประโยชน์ดังกล่าว ไม่ว่าจะเต็มรอบปีบัญชีหรือไม่ก็ตาม และไม่ว่าในรอบปีบัญชีนั้นจะมีการส่งออก
หรือไม่ก็ตามเป็นปีฐาน ซึ่งปีแรกหรือปีฐานนี้บริษัท ไดว่าฯ ไม่มีสิทธิหักเงินได้พึงประเมินได้ตามที่กฎหมาย
กำหนด เนื่องจากไม่อาจหาค่าของรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนได้ สำหรับปีที่ 2 และปีที่ 3 ให้นำรายได้
จากการส่งออกในรอบปีถัดไปมาเทียบการหารายได้จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนส่วนปีต่อ ๆ ไป
รายได้ของปีนั้น ๆ จะต้องไม่น้อยกว่ารายได้จากการส่งออกเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลัง
เลขตู้: 63/29290

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020