เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/4560
วันที่: 6 มิถุนายน 2543
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการหักภาษี ณ ที่จ่าย
ข้อกฎหมาย: มาตรา 48(5), มาตรา 50(1)
ข้อหารือ: ธนาคารฯ ขอทราบหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการคำนวณเงินได้ที่สมาชิกได้
รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เมื่อพ้นสมาชิกภาพในส่วนที่เป็นเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสะสม
และเงินสมทบ ดังนี้
1. เงินได้ของสมาชิกกองทุนฯ กรณีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพยังไม่เลิก แต่สมาชิกลาออกจาก
สมาชิกภาพและยังคงปฏิบัติงานอยู่ วิธีการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย จากเงินได้ของสมาชิกกองทุนฯ
ที่มีอายุงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป สามารถเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร ได้
หรือไม่ ถ้าไม่ได้ต้องคำนวณอย่างไร
2. เงินได้ของสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรณียกเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แต่บริษัท
นายจ้างยังคงดำเนินกิจการอยู่ วิธีคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ของสมาชิกที่มีอายุงานตั้งแต่ 5 ปี ขึ้น
ไป สามารถเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากรได้หรือไม่
แนววินิจฉัย: กรณีพนักงานได้รับเงินในส่วนที่เป็นเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบ
จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยที่พนักงานยังไม่ได้ลาออกจาก
งานแต่ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามปกติทั้งสองกรณีดังกล่าว ไม่เข้าลักษณะเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายครั้งเดียว
เพราะเหตุออกจากงาน จึงไม่มีสิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร และ
ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ตามข้อ 2(36) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ประกอบกับ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52)ฯ ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538
ดังนั้น พนักงานต้องนำเงินได้ดังกล่าว ไปรวมคำนวณกับเงินเดือนตามปกติ และบริษัทฯ ผู้จ่ายเงินได้มี
หน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 63/29402

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020