เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/4563
วันที่: 6 มิถุนายน 2543
เรื่อง: ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการยกเว้นรัษฎากร พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 357) พ.ศ. 2542
ข้อกฎหมาย: มาตรา 65 ตรี, มาตรา74(1)(8) และ (ค)
ข้อหารือ: กรมที่ดินแจ้งว่า มีปัญหาทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีการโอนอสังหาริมทรัพย์ อันเนื่องมาจากการ
ที่บริษัทมหาชนจำกัดและบริษัทจำกัด ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรโดยการโอนกิจการบางส่วนหรือ
โอนกิจการทั้งหมดให้แก่กันซึ่งได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ตามพระราชกฤษฎีกาฯ
(ฉบับที่ 356) พ.ศ. 2542 พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 357) พ.ศ. 2542 และพระราชกฤษฎีกาฯ
(ฉบับที่ 330) พ.ศ. 2541 จึงขอทราบว่าพนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องเรียกเก็บภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
หรือไม่
แนววินิจฉัย: 1. กรณีการโอนกิจการบางส่วนให้แก่กันผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่บริษัทซึ่งโอน
อสังหาริมทรัพย์อันเนื่องมาจากการโอนกิจการบางส่วนให้แก่กัน ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่าย
ในอัตราร้อยละ 1 แล้วนำส่งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมขณะที่มีการจดทะเบียน
ตามมาตรา 69 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
2. กรณีการควบเข้ากัน หรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน ตามมาตรา 74(1)(ข) และ (ค)
แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้การตีราคาทรัพย์สินจากการควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน
ไม่ให้ถือเป็นรายได้หรือรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของบริษัทเดิม ดังนั้น บริษัทผู้รับโอน
อสังหาริมทรัพย์ จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 69 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 63/29405

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020