เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/4703
วันที่: 9 มิถุนายน 2543
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการยืมหรือโอนกรรมสิทธิ์น้ำตาล
ข้อกฎหมาย: มาตรา 77/1(8), มาตรา 89
ข้อหารือ: จังหวัดฯ ได้ออกตรวจปฏิบัติการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเดือนตุลาคม 2540 กุมภาพันธ์
2541 มีนาคม 2541 และพฤษภาคม 2541 ราย บริษัท ก. จำกัด ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่บ้านหาดเสือ
เต้น ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ และมีสำนักงานสาขาตั้งอยู่ถนนวิภาวดีรังสิต แขวง
ดินแดง เขตดินแดงกรุงเทพมหานคร บริษัทฯ ยื่นแบบ ภ.พ.30 รวมกัน ณ สำนักงานใหญ่ ผลการตรวจ
ปรากฏว่า
(1) บริษัทฯ จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณ
ภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2535 ประกอบกิจการผลิต จำหน่าย ส่งออก ผลิตภัณฑ์
น้ำตาลและบริการอื่น ๆ
(2) บริษัทฯ มีบริษัทในเครือ 2 บริษัท คือ บริษัท ข. จำกัด และบริษัท ค. จำกัด
ได้ร่วมกันขออนุญาตผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายทดแทนโควต้า ก. โควต้า ข. และโควต้า ค. ฤดู
การผลิตปี 2540/2541 จากคณะกรรมการน้ำตาลทราย ซึ่งได้รับอนุญาตตามหนังสือที่ กน.16/2541 ฯ
ลงวันที่ 13 มกราคม 2541
(3) บริษัท ก. จำกัด บริษัท ข. จำกัด และบริษัท ค. จำกัด ได้มีการยืมน้ำตาลและ
โอนกรรมสิทธิ์น้ำตาลระหว่างกัน โดยให้เหตุผลว่าทั้ง 3 บริษัท เป็นบริษัทในเครือเดียวกันที่มีการผลิต
และจำหน่ายทดแทนกัน ได้ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการน้ำตาลทราย เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
การอนุญาตให้โรงงานอื่นทำการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายทดแทน และเป็นไปตามคำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป.41/2537 ฯ ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2537
(4) จากการตรวจรายงานสินค้าและวัตถุดิบพบว่า บริษัทฯ บันทึกรับน้ำตาลเข้า กรณี
ผลิตและรับโอนน้ำตาลจากบริษัท ข. จำกัด หรือบริษัท ค. จำกัด และบันทึกจ่ายออก กรณีขาย ส่งออก
โอนน้ำตาลให้บริษัท ข. จำกัด หรือบริษัท ค. จำกัด เพื่อขายให้ลูกค้าเพื่อไถ่ถอนใบประทวนหรือเพื่อ
ส่งออก โดยเอกสารที่บันทึกรายการรับ-จ่าย เป็นใบโอนกรรมสิทธิ์น้ำตาลหรือขอโอนกรรมสิทธิ์น้ำตาล
(5) หนังสือขอโอนกรรมสิทธิ์น้ำตาลของบริษัท ก. จำกัด บริษัท ข. จำกัด และบริษัท
ค. จำกัด ลงนามโดยนาย A. ซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่งของบริษัท ก. จำกัด
แนววินิจฉัย: กรณีตามข้อเท็จจริงข้างต้น กรณีที่บริษัทฯ โอนกรรมสิทธิ์น้ำตาลให้กับบริษัท ข. จำกัด หรือ
บริษัท ค.จำกัด เพื่อขายให้ลูกค้าหรือไถ่ถอนใบประทวนและเพื่อส่งออก ถือว่าเป็นการขายสินค้า ตาม
มาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ต้องจัดทำและส่งมอบใบกำกับภาษีทุกครั้งที่มีการขาย
สินค้า ตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 63/29432

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020