เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/พ.4706
วันที่: 9 มิถุนายน 2543
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากการชำระภาษีด้วยเงินกู้โครงการความช่วยเหลือในการจัดการด้านเศรษฐกิจของธนาคารโลก
ข้อกฎหมาย: มาตรา 80/1(4), มาตรา 82/4, มาตรา 84
ข้อหารือ: สำนักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ ได้ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยแจ้งว่า สำนักรัฐวิสากิจ
และหลักทรัพย์ของรัฐ ได้จัดการประชุม APEC Finance Ministers Privatisation Forum
ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2542 โดยมีการเบิกค่าใช้จ่ายจากเงินกู้โครงการ
ความช่วยเหลือในการจัดการด้านเศรษฐกิจของธนาคารโลก เพื่อซื้อสินค้าหรือรับบริการซึ่งมีค่าใช้จ่าย
บางรายการที่ผู้ขายสินค้าและผู้ให้บริการได้ทำการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากสำนักรัฐวิสาหกิจและ
หลักทรัพย์ของรัฐ จำนวนทั้งสิ้น 4,458.85 บาท แต่ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 28) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการ
ให้บริการกับกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจ ตามโครงการเงินกู้ หรือเงิน
ช่วยเหลือจากต่างประเทศ ตามมาตรา 80/1(4) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 ใน
การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำนักฯ จึงขอให้กรมสรรพากรคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวน 4,458.85 บาท ที่ถูก
ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการเรียกเก็บ
แนววินิจฉัย: กรณีตามข้อเท็จจริงข้างต้นหากปรากฏว่าคู่สัญญาได้มีการปฏิบัติครบถ้วนตามประกาศอธิบดีฯ
(ฉบับที่ 28) ลงวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2535 แล้ว ผู้ประกอบการต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีสิทธิ
เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(4) และ
มาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร แต่การที่ผู้ประกอบการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0
โดยได้ยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการดังกล่าว ถือว่า
เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้อง ผู้ประกอบการจึงมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตาม
มาตรา 84 แห่งประมวลรัษฎากร
สำหรับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดให้ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
จากกรมสรรพากรได้ ดังนั้น สำนักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ ชอบที่จะขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม จาก
ผู้ประกอบการที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเกินไปโดยตรง
เลขตู้: 63/29435

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020