เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811(กม.06)/903
วันที่: 1 มิถุนายน 2543
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการหักค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อกฎหมาย: มาตรา 40)8, มาตรา 65 ทวิ, มาตรา 65 ตรี
ข้อหารือ: นาย A. ประกอบกิจการจำหน่ายเสื้อผ้าจากการซื้อมาขายไปและจากการตัดเย็บเอง
นาย A. ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 ปีภาษี 2541 โดยหักค่าใช้จ่าย
จากการขายเสื้อผ้าเครื่องแบบนักเรียน (ซื้อมาขายไป) เป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 80 และจาก
การตัดเย็บเสื้อผ้าเองในอัตราร้อยละ 75 จังหวัดฯ มีความเห็นว่า เงินได้ของนาย A. ถือเป็นเงินได้
ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องหักค่าใช้จ่ายตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความใน
ประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.
2502 และสำหรับเงินได้จากการตัดเย็บเสื้อผ้าจำหน่ายนั้น เป็นการตัดเย็บเสื้อผ้าและการขาย
ส่วนประกอบซึ่งสามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 70 ตามมาตรา 8 แห่ง
พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวข้างต้น จังหวัดฯ จึงหารือว่าความเห็นของจังหวัดฯ ถูกต้องหรือไม่
แนววินิจฉัย: ภาคฯ มีความเห็นว่าเงินได้จากการตัดเย็บเสื้อผ้าจำหน่าย (ตัดเย็บเอง) เป็น
เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความใน
ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.
2502 มาตรา 8(5) กำหนดให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาสำหรับการตัด เย็บ ถัก ปักเสื้อผ้าหรือสิ่งอื่น
ๆ รวมทั้งส่วนประกอบได้ในอัตราร้อยละ 70 เว้นแต่ผู้มีเงินได้จากกิจการแสดงหลักฐานต่อ
เจ้าพนักงานประเมินและพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้น ก็ยอมให้หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและ
สมควร ทั้งนี้ให้นำมาตรา 65 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2517 และมาตรา 65 ตรี แห่ง
ประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ.
2502 มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้าตามหลักฐานที่นำมาพิสูจน์นั้นปรากฏว่า มีรายจ่ายที่หักได้ตามกฎหมาย
น้อยกว่าอัตราค่าใช้จ่ายที่กำหนดไว้ข้างต้น ก็ให้ถือว่ามีค่าใช้จ่ายเพียงเท่าหลักฐานที่นำมาพิสูจน์
กรณีเงินได้จากการจำหน่ายเสื้อผ้าเครื่องแบบนักเรียน (ซื้อมาขายไป) ผู้มีเงินได้จะขอหัก
ค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 80 หรือขอหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรก็ได้ ตาม
มาตรา 8(25) และมาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502
เลขตู้: 63/29466

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020