เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811(กม.02)/940
วันที่: 9 มิถุนายน 2543
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีบริการขนส่ง
ข้อกฎหมาย: มาตรา 77/2(1)
ข้อหารือ: บริษัท A. จำกัด ให้บริการขนส่งตามสัญญาที่บริษัท B. จำกัด ว่าจ้างบริษัทฯ ขนส่ง
สินค้าไปยังสถานที่ที่ผู้ว่าจ้างกำหนด โดยสัญญาระบุให้บริษัทฯ เป็นผู้จัดหารถบรรทุกพร้อมพนักงานขับรถไป
ประจำ ตามสถานที่ที่ผู้ว่าจ้างกำหนด ตกลงจ่ายค่าตอบแทนเป็นรายวัน หากเป็นการให้บริการนอกเวลา
ปกติจะคิดค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นเป็นรายชั่วโมง และกรณีเดินทางไปต่างจังหวัดหรือค้างคืนจะคิดค่าตอบแทน
เพิ่มขึ้นเป็นรายวันหรือรายคืนที่ค้างบริษัทผู้ว่าจ้างเป็นผู้จ่ายค่าน้ำมันรถและบริษัทฯ ต้องดูแลซ่อมรถให้อยู่
ในสภาพดีพร้อมให้บริการ จังหวัดเห็นว่าหากบริษัทฯ มิได้ให้บริการอื่นใดเพิ่มเติมจากข้อเท็จจริงข้างต้น
ถือว่าเป็นการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(ณ) แห่ง
ประมวลรัษฎากร และไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้จากการให้บริการ
ดังกล่าว
แนววินิจฉัย: บริษัทฯได้ทำสัญญาเช่ารถกับบริษัท B. จำกัด โดยกำหนดเงื่อนไขว่าบริษัทฯ ผู้ให้เช่า
จะจัดรถบรรทุกจำนวน 12 คัน พร้อมคนขับ ระหว่างเวลา 08.30 น.- 17.30 น. ตั้งแต่วันจันทร์ถึง
วันศุกร์ บริษัทฯ จะจ่ายค่าตอบแทนเป็นรายวัน ๆ ละ 1,500 บาท โดยบริษัทฯ เป็นผู้กำหนดเส้นทาง
การเดินรถตามระยะเวลาที่ได้ตกลงกันและบริษัทฯ ยังมีสิทธิเรียกใช้รถบรรทุกดังกล่าวได้นอกเวลาที่
กำหนด โดยจ่ายเงินชดเชยให้ในอัตราตามที่กำหนดไว้กรณีดังกล่าวจึงเข้าลักษณะเป็นการให้เช่าทรัพย์
ตามมาตรา 537 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้นบริษัทฯ จึงมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม
มาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร และการให้บริการดังกล่าวอยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ
ที่จ่าย ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40
แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528
เลขตู้: 63/29471

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020