เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/5184
วันที่: 23 มิถุนายน 2543
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขายสินค้าของคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทร้านค้าปลอดอากร
ข้อกฎหมาย: มาตรา 82, มาตรา 77/1(14)(ก)(ข)
ข้อหารือ: กรณีกรมศุลกากรจะอนุญาตให้คลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทร้านค้าปลอดอากรในเมืองสามารถ
ขายสินค้านำเข้าจากต่างประเทศที่ชำระภาษีอากรครบถ้วนแล้วให้แก่ผู้ซื้อทั่วไป โดยผู้ซื้อไม่จำเป็นต้องมี
หนังสือเดินทาง และหลักฐานแสดงว่าจะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ผู้ซื้อสามารถซื้อสินค้าปลอด
อากรภายในร้านค้าของบริษัทฯและชำระภาษีอากรของสินค้าที่ซื้อ ณ จุดจำหน่ายสินค้า และสามารถนำ
สินค้านั้นออกไปจากร้านค้าปลอดอากรได้ทันที โดยไม่ต้องไปรับของที่ซื้อ ณ จุดส่งมอบสินค้าที่กำหนดไว้ ณ
ท่าอากาศยานนานาชาติ กรณีดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ นั้น
แนววินิจฉัย: 1. กรณีผู้ประกอบการได้รับอนุมัติจากกรมศุลกากร ให้จัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภท
ร้านค้าปลอดอากรในเมือง เมื่อผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเข้าไปในคลังสินค้าทัณฑ์บน
เพื่อขายให้แก่นักท่องเที่ยวหรือผู้ที่เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ผู้ประกอบการร้านค้าปลอดอากรมี
หน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในฐานะผู้นำเข้าตามมาตรา 82 แห่งประมวลรัษฎากร และเมื่อนำเข้ามา
เพื่อขาย จึงเป็นภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ ผู้ประกอบการร้านค้าปลอดอากรมีสิทธิ
นำไปถือเป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 82/5(3) แห่ง
ประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ดี กรณีนำเข้าสินค้าเข้าไปในคลังสินค้าทัณฑ์บนดังกล่าว ผู้ประกอบการร้านค้า
ปลอดอากรจะวางเงินประกัน หลักประกัน หรือจัดให้มีผู้ค้ำประกันเพื่อเป็นประกันภาษีมูลค่าเพิ่มแทนการ
ชำระภาษีก็ได้ ตามมาตรา 83/8 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 1 ของ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 20) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และ
เงื่อนไขการวางประกันและการถอนประกันภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 83/8 แห่งประมวลรัษฎากร
ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2534
2. กรณีผู้ประกอบการร้านค้าปลอดอากรขายสินค้าให้แก่นักท่องเที่ยวหรือผู้ที่เดินทางออกไป
นอกราชอาณาจักรเข้าลักษณะเป็นการส่งออก ตามมาตรา 77/1(14)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร หาก
ผู้ประกอบการร้านค้าปลอดอากรได้ปฏิบัติตามแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามกฎหมายว่าด้วย
ศุลกากร ผู้ประกอบการร้านค้าปลอดอากรได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา
80/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 30) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนำสินค้าในราชอาณาจักร
เข้าไปในเขตอุตสาหกรรมส่งออก และการขายสินค้าของคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทร้านค้าปลอดอากรตาม
กฎหมายว่าด้วยศุลกากร ตามมาตรา 77/1(14)(ก) และ (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26
มีนาคม พ.ศ.2535
3. กรณีผู้ประกอบการร้านค้าปลอดอากรขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อทั่วไป โดยผู้ซื้อไม่จำเป็นต้องมี
หนังสือเดินทางและหลักฐานแสดงว่าจะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรถือว่าสินค้านั้นได้ถูกปล่อย
ออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บนโดยมิใช่เพื่อส่งออก ตามมาตรา 77/1(14)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร
ผู้ประกอบการร้านค้าปลอดอากรซึ่งเป็นผู้นำเข้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยจะต้องยื่นใบขนสินค้า
ตามแบบที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดต่อเจ้าพนักงานศุลกากร พร้อมกับการชำระอากรขาเข้าตามกฎหมาย
ว่าด้วยศุลกากร ตามมาตรา 83/9 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
ตามมาตรา 78/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร และเมื่อนำเข้ามาเพื่อขาย จึงเป็นภาษีซื้อที่เกี่ยวข้อง
โดยตรงกับการประกอบกิจการ ผู้ประกอบการร้านค้าปลอดอากรมีสิทธินำไปถือเป็นภาษีซื้อในการคำนวณ
ภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 82/5(3) แห่งประมวลรัษฎากร
4. กรณีผู้ประกอบการร้านค้าปลอดอากรได้ส่งมอบสินค้าตาม 3. ให้แก่ผู้ซื้อ ผู้ประกอบการ
ร้านค้าปลอดอากรมีหน้าที่ต้องจัดทำใบกำกับภาษีเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อเมื่อความรับผิดในการ
เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ตามมาตรา 78(1) และมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร โดยคำนวณ
ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 หรือร้อยละ 10.0 ตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบ
กับมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 353) พ.ศ.2542
5. ผู้ประกอบการร้านค้าปลอดอากรเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงมีหน้าที่
ต้องจัดทำรายงานภาษีขายตามมาตรา 87(1) รายงานภาษีซื้อตามมาตรา 87(2) และ
รายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ดี กรณีผู้ประกอบการ
ร้านค้าปลอดอากรมีหน้าที่จัดทำบัญชีแยกประเภทสินค้าซึ่งแสดงรายละเอียดของสินค้าทั้งที่นำเข้าจาก
ต่างประเทศและหรือของที่ผลิตภายในประเทศ ที่นำเข้าเก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทร้านค้าปลอด
อากร ของที่ขายไป ของที่คงเหลืออยู่ โดยแยกประเภท ชนิด ปริมาณของของไว้อย่างชัดแจ้ง ซึ่งต้อง
จัดทำตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ถือว่าบัญชีแยกประเภทดังกล่าวเป็นรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ตาม
มาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากร แล้ว ทั้งนี้ ตามข้อ 3(3) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 89) เรื่อง กำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับการ
จัดทำรายงาน การลงรายการในรายงาน การเก็บใบกำกับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นที่ใช้ประกอบการ
ลงรายงานภาษีซื้อตามมาตรา 87 และมาตรา 87/3 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29
เมษายน พ.ศ.2542
เลขตู้: 63/29498

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020